Page 55 - 22432_fulltext
P. 55
54
จูงใจ” ของศาลว่าเหมารวมถึงจุดมุ่งหมายของมาตรการลดหย่อนโทษหรือไม่ ในอดีตมีเหตุการณ์ที่คล้ายกันนี้
ในคดีกฎหมายยาเสพติด ตามค าพิพากษาศาลฎีกาที่ 6243/2554 ศาลได้ตัดสินไว้ว่าการที่เจ้าหน้าที่ต ารวจ
บอกผู้ต้องหาเรื่องประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อบอกข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการจับกุมผู้กระท าความผิด ตามมาตรา
100/2 ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2522 นั้นไม่ถือว่าเป็น “แรงจูงใจ” แก่
149
148
จ าเลยที่หนึ่ง ดังนั้นพยานการให้การของจ าเลยที่หนึ่งต่อหน้าศาลจึงนับเป็นหลักฐานที่รับฟังได้ จากการ
150
ตีความของศาล จะเห็นได้ว่าศาลเห็นชอบให้หลักฐานที่เกิดขึ้นจากการแจ้งผลประโยชน์ทางกฎหมาย ดังนั้น
แล้ว การน ามาตรการลดหย่อนโทษมาปรับใช้ในประเทศไทยจึงสามารถท าได้โดยไม่กระทบต่อหลักฐานที่ได้รับ
ตามที่ศาลไทยได้เห็นชอบไว้แล้วในคดีนี้
ประการที่สอง การค้นพบหลักฐานที่แน่นอนและน่าเชื่อถือนั่นเป็นไปได้ยากในคดีการตกลงร่วมกัน
เนื่องจากผู้สมรู้ร่วมคิดโดยปกติจะซ่อนหลักฐานได้มิดชิด ดังนั้นประเด็นปัญหาถัดมาจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับว่าศาล
ยอมรับพยานแวดล้อม (Circumstantial Evidence) หรือไม่ เป็นที่ยอมรับทั่วโลกว่าการพบพยานโดยตรง
(Direct Evidence) เกิดขึ้นได้ยากมากในกรณีนี้ แตกต่างกับพยานหลักฐานด้านเศรษฐศาสตร์ (economic
evidence) ที่พบได้ง่ายกว่า ไม่ว่าจะผ่านการกระท าของสมาชิกกลุ่มการตกลงร่วมกัน (conduct) หรือ
151
พิจารณาผ่านโครงสร้างตลาด (structural) ศาลในสหรัฐอเมริกายอมรับพยานแวดล้อมซึ่งเอื้ออ านวยต่อการ
สืบสวน อีกทั้งยังน่าแปลกใจที่มีการใช้อย่างแพร่หลายจนปัจจุบันศาลต้องพยายามลดการใช้พยานหลักฐาน
ประเภทดังกล่าวลง ส าหรับประเทศไทยนั้น ยังไม่มีมาตราใดในประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญาซึ่ง
152
ใช้พยานแวดล้อมโดยตรง นอกจากนั้น เนื่องจากศาลไทยยังไม่เคยตัดสินคดีการตกลงร่วมกันมาก่อน ท าให้ยิ่ง
ยากในการบอกขอบเขตที่สามารถใช้หลักฐานประเภทนี้ได้ หากเมื่อพิจารณามาตรา 226 ซึ่งเกี่ยวกับ
พยานหลักฐานในคดีอาญาทั่วไป บทบัญญัตินี้ระบุว่า “พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะ
พิสูจน์ได้ว่าจ าเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์” สามารถใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ ซึ่งมาตราได้ยอมรับรวมหลักฐานที่
พึ่งพาความน่าจะเป็นโดยไม่ได้จ ากัดว่าต้องเป็นหลักฐานโดยตรงเท่านั้น การใช้ค านี้สามารถถือได้ว่า พยาน
148 ดู พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2.
149 ดู ค าพิพากษาศาลฎีกาที่ 6243/2554.
150 เข็มชัย ชุติวงศ์, ค าอธิบาย กฎหมายลักษณะพยาน, พิมพ์ครั้งที่ 9 (2556), กรุงสยาม พับลิชชิ่ง จ ากัด, น. 285.
151 AANZFTA, Competition Primers for ASEAN Judges (2018), p. 2 – 4.
152 Leslie, Christopher R. , The Decline and Fall of Circumstantial Evidence in Antitrust Law ( 2020) ,
p. 1714 – 1715.