Page 54 - 22432_fulltext
P. 54

53


                                                                                                144
               ความผิดจะลดลงจากการเปรียบเทียบเนื่องจากต้องเป็นไปตามที่คณะกรรมการฯ พิจารณาตัดสิน  อีกหนึ่ง
               กลไกที่ผู้ประสงค์จะเปิดโปงความลับภายในสามารถหวังประโยชน์ได้คือ บทบัญญัติเกี่ยวกับเหตุบรรเทาโทษ

               ในมาตรา 78 ของประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งให้อ านาจศาลลดโทษได้ตามที่เห็นสมควร โดยต้องไม่เกินกึ่งหนึ่ง

                                              145
               ของโทษที่จะลงแก่ผู้กระท าความผิด  ซึ่งเหตุบรรเทาโทษนั้น รวมถึง “ผู้ลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานหรือให้
               ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา หรือเหตุอื่นที่ศาลเห็นว่ามีลักษณะท านองเดียวกัน” ดังนั้นผู้

               สมรู้ร่วมคิดซึ่งปฏิบัติดังบทบัญญัตินี้สามารถจะได้รับการผ่อนโทษ อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าเสียดายที่ประโยชน์นี้จะ
               สามารถใช้ได้เมื่อคดีขึ้นศาลเรียบร้อยแล้วเท่านั้น ด้วยเหตุนี้การบรรเทาโทษจึงไม่อาจดึงดูดผู้กระท าความผิดให้

               สารภาพได้ด้วยตนเอง


                       จากข้อมูลและข้อคิดเห็นที่ได้กล่าวไปข้างต้นจะเห็นได้ว่าแนวทางการรับมือกับการตกลงร่วมกันใน

               ประเทศไทยยังมีปัญหาที่สมควรได้รับการเเก้ไข ปัญหาเหล่านี้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงผลกระทบของการไม่มี

               มาตรการลดหย่อนโทษหรือกลไกตรวจจับการตกลงร่วมกันที่เข้มแข็ง อีกทั้งข้อมูลจากสถิติได้เเสดงให้เห็นแล้ว

               ว่ามาตรการลดหย่อนโทษที่มีประสิทธิภาพสามารถเพิ่มการตรวจจับและลงโทษผู้สมรู้ร่วมคิดผ่านทางความ
               ช่วยเหลือด้านรวบรวมหลักฐานและยับยั้งกิจการต่าง ๆ กล่าวโดยสรุปคือ มาตรการลดหย่อนโทษมีบทบาท

               ส าคัญอย่างมากในการต่อต้านการตกลงร่วมกัน และสมควรเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยอย่างยิ่ง
                                                                                                146

                       อย่างไรก็ดีการน ารูปแบบมาตรการลดหย่อนโทษจากต่างประเทศมาใช้ในประเทศไทยโดยตรงนั้นไม่

               สามารถท าได้ มาตรการจะไม่สามารถใช้งานได้จริงหากไม่ค านึงถึงข้อจ ากัดของกฎหมายไทย เมื่อพิจารณา

               เช่นนี้ การน ามาใช้อาจมีประเด็นที่อาจเป็นปัญหาเกี่ยวกับหลักฐานของคดีในประมวลกฎหมายอาญา

               ดังต่อไปนี้


                       ประการแรก โดยธรรมชาติแล้วมาตรการลดหย่อนโทษเกิดขึ้นเพื่อจูงใจผู้กระท าความผิดให้มอบ

               หลักฐาน ค าถามจึงเกิดขึ้นว่าหลักฐานจากแรงจูงใจนั้นสามารถอ้างเป็นพยานหลักฐานในศาลได้หรือไม่

               (admissibility of evidence) หรือเป็นการขัดต่อมาตรา 226 ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
               โดยมาตรา 226 ระบุว่าหลักฐานใด ๆ ในคดีอาญาที่เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีค ามั่นสัญญา ขู่เข็ญหลอกลวงหรือ

               ได้มาโดยมิชอบประการอื่น หลักฐานนั้นจะไม่สามารถน ามาเป็นหลักฐานต่อหน้าศาลได้ ถึงแม้จะมีความเป็นไป

               ได้ในการพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาก็ตาม  ประเด็นส าคัญจึงตกอยู่ที่การนิยามค าว่า “การ
                                                                 147


               144  ดู ระเบียบคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ว่าด้วยการร้องเรียนและการเเสวงหาข้อเท็จจริงและการด าเนินคดีอาญา
               หรือคดีทางปกครอง พ.ศ. 2562 มาตรา 34.

               145  ดู ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78.
               146  Wils, Wouter P.J., Leniency in Antitrust Enforcement: Theory and Practice (2007), p. 17.
               147  ดู ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226.
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59