Page 124 - b29259_Fulltext
P. 124
ประเด็นแรก โครงสร้างของสถาบันการเมืองฝ่ายนิติบัญญัติว่า
ควรจะเป็นรัฐสภาแบบคู่หรือสองสภา (bicameralism) กับโครงสร้าง
รัฐสภาเดี่ยว (unicameralism) ซึ่งได้กล่าวมาบ้างแล้วในส่วนหน้านี้
ประเด็นที่สอง ที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
เพื่อทำาความเข้าใจในประเด็นทั้งสองจะได้พิจารณา ดังต่อไปนี้
2.4.1 โครงสร้างของรัฐสภาแบบสภาเดี่ยวหรือสภาคู่
เมื่อได้พิจารณาโครงสร้างของรัฐสภาหรือสถาบันการเมืองฝ่าย
นิติบัญญัติทั่วโลก พบว่าข้อถกเถียงนี้ยังไม่เป็นที่ยุติ กล่าวคือการมี
รัฐสภาแบบสภาคู่หรือสภาเดี่ยวนั้นต่างมีข้อดี ข้อเสียในตัวมันเอง ขึ้นกับ
บริบททางสังคม ประวัติศาสตร์ การเมืองและพัฒนาการทางการเมือง
ในแต่ละประเทศ บางประเทศ เช่น ยูโกสลาเวียเคยมีถึง 5 สภา ระหว่าง
ปี พ.ศ. 2527-2537 ในอาฟริกาใต้เคยมีสามสภา แต่โดยทั่วไปแล้วมี
ระบบสองสภาและสภาเดี่ยวอยู่จำานวนไม่น้อย
ในการเมืองแบบสภาเดี่ยวนั้นเห็นได้จากระบอบคอมมิวนิสต์ หรือ
ประเทศอดีตสังคมนิยมที่ยังคงโครงสร้างสถาบันการเมืองแบบเดิมเอาไว้
แต่ในระบบสองสภา หรือสภาคู่นั้น ปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป แต่ก็มีปรากฏการณ์
ชี้ให้เห็นว่าระบบสภาเดียวมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่า
บางประเทศจึงตัดสินใจยกเลิกวุฒิสภา เช่น นิวซีแลนด์ (พ.ศ. 2493)
เดนมาร์ค (พ.ศ. 2496) สวีเดน (พ.ศ. 2513) ไอซ์แลนด์ (พ.ศ. 2533) มีเพียง
โมร็อคโคเท่านั้นที่สร้างสถาบันการเมืองคือวุฒิสภาเพิ่มขึ้น (พ.ศ. 2539)
124