Page 34 - b29259_Fulltext
P. 34
สำาหรับประเภทฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศไทยนั้น กล่าวได้ว่า
ณ ปัจจุบัน เรามีรูปแบบ “รัฐสภาคู่” ทั้งนี้โดยจะเห็นได้อย่างประจักษ์ชัด
ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน หมวดที่ 7 ส่วนที่ 1 ว่าด้วย
บททั่วไปของรัฐสภา มาตรา 79 ที่บัญญัติว่า “รัฐสภาประกอบด้วย
50
สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา” อย่างไรก็ตาม หากสืบสาวราวเรื่องไปใน
เชิงประวัติศาสตร์ของระบอบรัฐธรรมนูญไทยก็จะพบว่า ก่อนที่ประเทศไทย
จะสถาปนาให้มีประเภทของฝ่ายนิติบัญญัติเป็นแบบรัฐสภาเฉกเช่นทุกวันนี้
เราเคยใช้รูปแบบ “รัฐสภาเดี่ยว” หรือ “Unicameralism” มาก่อน กล่าวคือ
นับตั้งแต่ที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสู่ระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข พระราชบัญญัติธรรมนูญแห่ง
51
แผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ได้มีการกำาหนดให้ประเทศไทยมีฝ่าย
นิติบัญญัติในประเภทรัฐสภาเดี่ยวจนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นรูปแบบ
“รัฐสภาคู่ครั้งแรก” เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2489 ที่มีการบัญญัติไว้ในหมวด 3 ส่วนที่ 1 ว่าด้วยบททั่วไป ว่าด้วย
อำานาจนิติบัญญัติ มาตรา 17 ที่มีเนื้อความว่า “รัฐสภาประกอบด้วยพฤฒสภา
และสภาผู้แทน” และได้ถือตามโครงสร้างนี้ตราบจนทุกวันนี้นั่นเอง
52
50 โปรดอ่าน หมวด 7 รัฐสภา ส่วนที่ 1 บททั่วไป มาตรา 79 ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
51 ดู หมวด 3 สภาผู้แทนราษฎร ส่วนที่ 1 บททั่วไป มาตรา 8 ของพระราชบัญญัติ
ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475
52 โปรดอ่าน หมวด 3 อำานาจนิติบัญญัติ ส่วนที่ 1 บททั่วไป มาตรา 17 ของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489
อนึ่ง จะเห็นว่า ณ เวลานั้นซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีวุฒิสภา เราหาได้ใช้
คำาว่า “วุฒิสภา” ดังปัจจุบัน หากแต่ใช้คำาว่า “พฤฒสภา” ก่อน จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลง
ถ้อยคำามาเป็นวุฒิสภาครั้งแรกเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 ผู้สนใจโปรดดู หมวด 4 อำานาจนิติบัญญัติ ส่วนที่ 1 (...ต่อ)
34