Page 40 - b29259_Fulltext
P. 40
คำาว่า “นิติบัญญัติ” ตามลายลักษณ์อักษรเท่านั้นก็เป็นได้ จริงอยู่ว่า
หากพิจารณาจากความหมายของถ้อยคำาก็อาจพบว่าคำาว่า “นิติบัญญัติ”
หมายถึง การตราตัวบทกฎหมาย ซึ่ง ณ ที่นี้ก็คงจะรวมถึงการแก้ไขเพิ่มเติม
ตัวบทกฎหมายด้วย แต่อันที่จริงแล้ว “อำานาจนิติบัญญัติ” ตามหลัก
71
กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองหาได้มีมิติเพียงแค่การตรา
และแก้ไขเพิ่มเติมตัวบทกฎหมายเท่านั้น แต่ยังคงรวมไปถึงเรื่องของ
การตรวจสอบถ่วงดุลการทำาหน้าที่ของฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ
รวมตลอดไปถึงการทำาหน้าที่ในฐานะตัวแทนของประชาชนในฐานะ
ผู้เลือกตนเองเข้ามาทำาหน้าที่ในสภาแห่งนี้ด้วย
72
กล่าวโดยสรุปแล้ว ตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบัน
การเมือง เราสามารถจำาแนกแยกแยะหน้าที่หลักของสภาผู้แทนราษฎรได้
ดังต่อไปนี้
ก) หน้าที่ในการตรากฎหมาย
การตรากฎบัตรกฎหมาย (Legislation) เพื่อบังคับใช้กับประชาชน
ภายในรัฐถือเป็นภารกิจหลักที่สำาคัญยิ่งของสภาผู้แทนราษฎรในฐานะ
ฝ่ายนิติบัญญัติเลยก็ว่าได้ โดย “อำานาจในการออกกฎหมาย” นี้คงมิอาจจะ
แปลความได้อย่างเถรตรงว่าเป็นเพียงอำานาจในการออกตัวบทกฎหมาย
71 Henry Wade Rogers, The Law Making Power, Vol.III Faculty
Scholarship Series 42 (1894).
72 The Constitution Unit, Checks and Balances in Single Chamber
Parliaments: a Comparative Study 7-8 (1998).