Page 125 - kpiebook62001
P. 125
โครงการสร้างที่อยู่อาศัยให้คนยากจน โครงการ Rural Housing Scheme – Indira Awas Yojana (IAY) มี
เป้าหมายในการสร้างที่อยู่อาศัยให้กับคนยากจนในวรรณะต่ าและคนในสถานะยากจนอื่น ๆ ของอินเดีย การให้
สวัสดิการในโครงการนี้ไม่มีเงื่อนไขให้คนยากจนต้องท างานเพื่อชดใช้ แต่มีเงื่อนไขเช่นครัวเรือนที่ได้รับที่อยู่อาศัยจะต้อง
มีผู้หญิง และที่อยู่อาศัยจะต้องมีห้องน้ าและห้องครัวที่ผ่านมาตรฐานสุขภาวะ โครงการ IAYด าเนินการโดยการกระจาย
เงินทุนให้กับองค์กรปกครองและองค์กรพัฒนาในระดับท้องถิ่น และให้องค์กรเหล่านี้เป็นผู้ด าเนินการโครงการต่อไป
การเจาะจงนั้นท าผ่านการก าหนดเป้าหมายจ านวนที่อยู่อาศัยที่จะสร้างไว้ในระดับรัฐและอ าเภอ ด้วยการใช้จ านวนคน
จนในแต่ละรัฐช่วยคาดการณ์
แม้ว่าตัวโครงการจะได้รับการสนับสนุน จากเป้าหมายในการสร้างสิ่งที่จ าเป็นให้กับคนยากจน แต่โครงการ IAY
ยังประสบปัญหาส าคัญอยู่หลายประการ เช่น ด้วยขนาดงบประมาณที่ค่อนข้างสูงส าหรับการสร้างที่อยู่อาศัย ท าให้
ดึงดูดการคอรรัปชัน (CAG, 2003) นอกจากนี้ โครงการยังถูกแทรกแซงจากนักการเมืองทั้งในระดับประเทศและใน
ระดับท้องถิ่น กลายเป็นช่องทางในการแสวงหาแรงสนับสนุน แต่กระนั้น งานศึกษาพบว่าการคลาดเคลื่อนในลักษณะ
การนับรวมที่ผิดพลาด (inclusion error) เกิดขึ้นน้อย ผู้ได้รับประโยชน์จากโครงนี้ส่วนใหญ่เป็นคนที่ยากจนจริง ปัญหา
ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นจะเกิดมาจากการมีสวัสดิการให้ไม่เพียงพอจ านวนคนจนทั้งหมด ท าให้มีคนจนหลุดจาก
โครงการไป
โครงการบ้านาญส้าหรับผู้สูงอายุ หรือ National Old Age Pension Scheme (NOAPS) เริ่มในปี 1995
โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ National Social Assistance Program ซึ่งริเริ่มโดยรัฐบาลกลางของอินเดีย โครงการนี้
มุ่งกระจายเงินโอนให้กับผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจนแบบอนาถา คือไม่สามารถด ารงชีพด้วยตนเองได้ รวมถึงไม่ได้รับเงิน
ช่วยเหลือจากสมาชิกครอบครัว กระบวนการเจาะจงในโครงการนี้มุ่งไปที่ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปี โดยผู้สูงอายุที่
สมัครเข้าโครงการจะต้องแสดงหลักฐานสถานภาพยากจนของตนเอง ผู้ที่ด าเนินการคัดกรองคนยากจนคือตัวแทนชุมชน
ท้องถิ่น โดยหลังจากการคัดกรองรัฐบาลระดับท้องถิ่นจะเป็นผู้ด าเนินการโครงการ อย่างไรก็ตาม มีการก าหนดเพดาน
จ านวนผู้ได้รับประโยชน์ไว้จากรัฐบาลกลาง โดยการใช้ฐานข้อมูลความยากจนของรัฐบาลเพื่อประกอบการค านวน
เพดานดังกล่าว
การด าเนินงานโครงการนี้ได้รับการประเมินจากรัฐบาลอินเดียว่าประสบผลส าเร็จ การเข้าถึงสิทธิประโยชน์
เกิดขึ้นได้โดยไม่เกิดต้นทุนกับผู้สูงอายุ โครงการสามารถเข้าถึงคนยากจนได้จริง โดยเฉพาะผู้หญิงและคนในวรรณะต่ า
โดยในช่วงปี 1996-1997 โครงการนี้สามารถเข้าถึงคนสูงอายุแบบอนาถาได้ถึงมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด
(Kumar and Anand, 2006)
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงการคือต้นทุนการพิสูจน์ฐานะนั้นยังถูกจ ากัดด้วยการขาดเอกสารราชการ
ของประชากรที่ยากจน ซึ่งเอกสารดังกล่าวจ าเป็นต้องใช้ในการพิสูจน์อายุและสถานะการไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
ของผู้เข้าร่วมโครงการ นอกจากนี้ยังมีภาระอื่น ๆ จากการต้องเข้ากระบวนการของรัฐที่อาจสร้างต้นทุนกับผู้สูงอายุและ
ส่งผลให้พวกเขาเข้าไม่ถึงสวัสดิการได้ ข้อสังเกตที่ส าคัญอีกประการจากโครงการบ านาญส าหรับผู้สูงอายุในอินเดียก็คือ
116