Page 134 - kpiebook62001
P. 134

สวัสดิการกลายมาเป็นโจทย์ใหญ่ของการปฏิรูป การปฏิรูปส าคัญเกิดภายใต้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีมากาเร็ต แทช

               เชอร์ ภายใต้ภาพรวมของการปฏิรูปเศรษฐกิจตามแนวทางเสรีนิยมใหม่ที่เน้นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (privatization)
               การลดการควบคุมก ากับของรัฐ (deregulation) ขนาดระบบสวัสดิการถูกลดลง สิทธิประโยชน์ถูกตัด ภาระถูกผลักไป

               ให้กับแต่ละบุคคลและครอบครัว เช่น การดูแลคนแก่และเด็กก็ถูกคาดหวังให้จัดการกันเองภายในครอบครัว และภาระนี้

               มักตกอยู่กับผู้หญิง (Powell, 2014) การลดรายจ่ายด้านสวัสดิการในช่วงนี้ ยังมาพร้อมกับความพยายามแปรรูป
               สวัสดิการต่าง ๆ ให้เอกชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ในสมัยของแทชเชอร์มีความพยายามหลายครั้งที่จะแปรรูประบบ

               National Health Services การเปลี่ยนแปลงที่ส าคัญอีกประการคือสวัสดิการส่วนใหญ่ยังถูกปรับให้เป็นสวัสดิการแบบ

               เจาะจงที่คนจน (poverty targeting)

                       (2) รูปแบบปัจจุบัน

                       การปรับเปลี่ยนในยุคนายกรัฐมนตรีแทชเชอร์หล่อหลอมให้ระบบสวัสดิการของสหราชอาณาจักรกลายเป็น

               ตัวอย่างของสวัสดิการแบบเสรีนิยมดังเช่นในปัจจุบัน นโยบายแบบเจาะจงที่คนจนถูกน ามาใช้กับนโยบายสวัสดิการ

               หลายแบบโดยเฉพาะกับเด็กและคนชรา มีการปรับการอุดหนุนเด็กและบ านาญคนชราให้เป็นการช่วยเฉพาะคนยากจน
               ท าให้โอกาสจะได้รับรับสวัสดิการเหล่านี้เกิดขึ้นได้ผ่านสองทางหลัก หากไม่ได้เกิดขึ้นจากการเป็นส่วนหนึ่งของระบบ

               ประกันสังคมก็จะต้องได้ผ่านการพิสูจน์ฐานะความยากจน (means-tested)

                       ระบบสวัสดิการของสหราชอาณาจักรในปัจจุบัน ยังได้รับอิทธิพลจากการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมในช่วงทศวรรษ
               2000 ที่ผ่านมา การกลับมาสู่อ านาจอีกครั้งของพรรคแรงงานมาพร้อมอุดมการณ์ใหม่ที่เรียกว่า New Labour เพิ่มเติม

               การเน้นให้สวัสดิการเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนคนให้ท างาน โดยผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือของรัฐ เช่น สวัสดิการ

               ส าหรับผู้ว่างงาน เงินช่วยเหลือผู้มีฐานะยากจน จ าเป็นจะต้องเป็นผู้ที่แสวงหาโอกาสการกลับสู่การจ้างงานอย่างเร็วที่สุด
               (Taylor and Powell, 2017)

                       เมื่อระบบสวัสดิการถูกออกแบบเช่นนี้ กลุ่มผู้ได้รับสวัสดิการที่ไม่สามารถกลับเข้าสู่การจ้างงานได้ก็มักจะถูกตี

               ตราให้เป็นผู้ที่เอาเปรียบคนอื่น ๆ ในสังคม และไม่ควรได้รับการช่วยเหลือ (Taylor and Powell, 2017) มุมมองเช่นนี้
               สนับสนุนให้พวกเขาได้รับประโยชน์จากระบบสวัสดิการอย่างจ ากัดขึ้น การเข้าสู่ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงทศวรรษ

               2010 ยังน ามาซึ่งนโยบายสวัสดิการยังถูกโจมตีต่อเนื่องถึงผลในการสร้างภาระทางการคลัง น ามาซึ่งการตัดสิทธิ

               ประโยชน์ทางสวัสดิการเพิ่มเติม และมีการยุบรวมนโยบายสวัสดิการต่าง ๆ ที่มุ่งเจาะจงคนยากจนรวมเป็นนโยบายเดียว
               ภายใต้ชื่อ Universal Credits ภายใต้นโยบายนี้ สวัสดิการทั้งในรูปแบบของการอุดหนุนเด็ก การอุดหนุนที่ค่าใช้จ่ายที่

               อยู่อาศัย การอุดหนุนรายได้คนยากจน การช่วยเหลือคนว่างงาน ถูกน ามารวมภายใต้กระบวนการบริหารงานเดียวกัน

               อย่างไรก็ตาม ผลในเชิงเพิ่มประสิทธิภาพการเจาะจงที่คนจนของนโยบายนี้ยังไม่อาจพิสูจน์ได้เนื่องจากนโยบายยังไม่ได้
               ถูกน ามาใช้อย่างเต็มที่ แต่ข้อสังเกตที่พบก็คือภายใต้นโยบายนี้ขนาดสวัสดิการที่คนจนได้รับโดยรวมนั้นลดลง


                       (3) นัยยะต่อความเหลื่อมล ้า




                                                               125
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139