Page 131 - kpiebook62001
P. 131

เกิดขึ้นเสมอในกระบวนการเก็บข้อมูล ปัญหานี้เกิดขึ้นกับกรณีของอินโดนีเซียเมื่อรัฐบาลต้องใช้อาสาสมัครเป็นผู้ช่วยเก็บ

               ข้อมูล BKKBN ซึ่งสร้างค าถามถึงคุณภาพของชุดข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้น หรือในกรณีของจีน การก าหนดพื้นที่เขตยากจนก็
               กลับได้รับอิทธิพลทางการเมืองท าให้พื้นที่ที่มีความใกล้ชิดกับพรรคการเมืองหลักได้รับการคัดเลือก จะเห็นได้ว่าแม้การ

               ใช้ฐานข้อมูลจะท าให้เสมือนว่าการเจาะจงมีแม่นย าและเป็นกลาง แต่แท้ที่จริงแล้วก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงปัจจัยความ

               บกพร่องจากมนุษย์ได้ทั้งหมด
                       ปัญหาความบกพร่องจากมนุษย์มีส่วนส าคัญยิ่งเมื่อรูปแบบการเจาะจงเป็นการจัดสรรผ่านตัวแทนชุมชนหรือ

               การใช้กรรมการอื่น ๆ เช่นจากภาครัฐ ทั้งในสามประเทศที่เป็นกรณีศึกษาต่างก็มีการใช้กระบวนการเช่นนี้ในระดับพื้นที่

               ตัวอย่างเช่น โครงการกระจายข้าวให้คนยากจนของอินโดนีเซีย โครงการสร้างการจ้างงานในระดับท้องถิ่นของอินเดีย
               หรือโครงการอุดหนุนงบประมาณให้รัฐบาลท้องถิ่นที่ยากจนของจีน โครงการเหล่านี้ปัญหาคล้ายคลึงกัน ซึ่งก็คือ

               เป้าหมายการเจาะจงของตัวแทนชุมชนอาจบิดเบือนออกจากการแสวงหาคนยากจนได้ เช่น ในกรณีการจัดสรร

               งบประมาณลงทุนให้โครงการลดความยากจนระดับท้องถิ่น เป้าหมายที่กรรมการในพื้นที่ให้ความส าคัญอาจเป็นการ
               สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับงบลงทุนที่ได้รับจากส่วนกลาง ท าให้โครงการลงทุนที่คนจนได้ประโยชน์มากกว่าแต่ไม่ได้สร้าง

               ผลตอบแทนที่ดีกลับไม่ได้รับเลือก หรือในกรณีที่งบประมาณที่ได้มากระจายในพื้นที่มีจ ากัด กรรมการก็อาจเลือกคนที่

               ใกล้ชิดกับตนเองมากกว่า หรือเลือกผู้ที่แสดงความจ านงรับการช่วยเหลือก่อนให้เป็นผู้ได้รับสวัสดิการก่อน ท าให้คนที่
               ยากจนหลุดออกจากกระบวนการเจาะจงไป

                       การเจาะจงด้วยตนเอง เช่นที่เกิดขึ้นในโครงการสร้างจ้างงานในอินเดียและอินโดนีเซีย อาจเสมือนเป็นหนทางที่

               ก้าวข้ามปัญหาความบกพร่องในการสร้างฐานข้อมูล โดยให้การคัดกรองคนยากจนเกิดขึ้นเองจากการก าหนดเงื่อนไขเช่น
               ค่าจ้างที่ต่ ากว่าตลาด อย่างไรก็ตาม ผลจากการส ารวจกรณีศึกษาพบว่าการเจาะจงด้วยตนเองก็เผชิญปัญหาความ

               คลาดเคลื่อนสูงเช่นกัน กรณีของอินเดียพบว่าการก าหนดค่าจ้างต่ าส าหรับโครงการเช่นนี้เป็นเรื่องยาก เนื่องจากแต่ละ

               พื้นที่มีค่าจ้างเฉลี่ยไม่เท่ากัน ท าให้ค่าจ้างที่ก าหนดขึ้นมาเป็นเงื่อนไขเจาะจงด้วยตนเองยังต่ าเกินไปในพื้นที่ร่ ารวย และ
               สูงเกินไปในพื้นที่ยากจน ปัญหาส าคัญที่เกิดคือคนที่ฐานะไม่ยากจนในพื้นที่ยากจนก็จะเข้ามาร่วมรับประโยชน์จาก

               นโยบายด้วย

                       นอกจากปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ปัญหาส าคัญที่เกิดขึ้นกับทุกกรณีศึกษาก็คือปัญหาทรัพยากรรั่วไหล
               จากการบริหารจัดการนโยบาย กรณีของอินเดียแสดงให้เห็นปัญหาส าคัญคือการคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นทั้งในระดับของ

               เจ้าหน้าที่รัฐ หรือแม้กระทั่งระดับกรรมการตัวแทนชุมชน โครงการเช่นการส่งเสริมการจ้างงานในอินเดียพบปัญหาที่

               เจ้าหน้าที่ใช้เงินงบประมาณไปผิดประเภท หรือแม้กระทั่งยอมรับสินบน อาจกล่าวได้ว่ากระบวนการเจาะจงคนยากจน
               นั้นย่อมเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่หรือตัวแทนชุมชนเข้ามามีส่วนตัดสินใจกับการกระจายทรัพยากร และยิ่งมีทรัพยากร

               เกี่ยวข้องมาก และมีกระบวนการตรวจสอบไม่เข้มแข็ง ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะเกิดการคอร์รัปชัน

                       การส ารวจกรณีศึกษานโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนในที่นี้แสดงให้เห็นว่ากระบวนการเจาะจงมักจะมี
               ปัญหาความคลาดเคลื่อนเสมอ ยิ่งส าหรับประเทศก าลังพัฒนา ความที่ฐานข้อมูลและกลไกการบริหารงานของภาครัฐ

               มักจะยังไม่ได้มีการพัฒนาให้เข้มแข็งมาก ความคลาดเคลื่อนก็มักจะสูงขึ้นตามไป หลายนโยบายเจาะจงต่าง ๆ ของ

                                                               122
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136