Page 130 - kpiebook62001
P. 130
อินโดนีเซีย อินเดีย จีน
ปัญหา: โรงเรียนยากจนบางส่วน
ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ เจ้าหน้าที่
สาธารณสุขหลีกเลี่ยงภาระในการ
ท าหน้าที่คัดกรองคนเข้ารับ
สวัสดิการ
ส าหรับกระบวนการเจาะจงนั้น ทั้งอินโดนีเซียและอินเดียต่างก็ใช้ทั้งการเจาะจงผ่านข้อมูลการส ารวจจาก
ภาครัฐ ผสมผสานไปกับการเจาะจงผ่านกระบวนการชุมชน การเจาะจงผ่านข้อมูลของอินโดนีเซียนั้นเกิดขึ้นผ่านการ
ส ารวจ BKKBN ซึ่งใช้ชุดค าถามส ารวจเพื่อสะท้อนสภาพความยากจน เช่น ครัวเรือนมีอาหารเพียงพอหรือไม่ มี
เครื่องนุ่งห่มและที่อยู่อาศัยที่อยู่ในสภาพทรุดโทรมหรือไม่ ฐานข้อมูลดังกล่าวได้รับการเก็บอย่างกว้างขวาง ส าหรับ
กระบวนการเจาะจงผ่านการเก็บข้อมูลของภาครัฐในอินเดียท าผ่านโครงการ Targeted Public Distribution System
(PDS) ซึ่งเน้นที่การคัดกรองคนยากจนผ่านข้อมูลด้านรายได้ผสมกับสินทรัพย์ อย่างไรก็ตาม การเก็บข้อมูลของอินเดีย
ต้องอาศัยรัฐบาลในระดับรัฐเป็นผู้ด าเนินการ และมีรัฐบาลในหลายรัฐที่ยังขาดศักยภาพการเก็บข้อมูล ดังที่สังเกตได้จาก
การไม่สามารสร้างฐานข้อมูลดังกล่าวได้ครบถ้วนแม้จะใช้เวลาหลายปี
และแม้จะมีการสร้างฐานข้อมูลด้านความยากจน แต่ทั้งอินเดียและอินโดนีเซียก็ไม่ได้ใช้ฐานข้อมูลดังกล่าวเพียง
อย่างเดียว แต่มีการผสมการใช้ข้อมูลกับกระบวนการแบบชุมชนในการเจาะจงคนจน ในหลายนโยบายสวัสดิการนั้น
ข้อมูลจะถูกน ามาใช้ค านวนการจัดสรรงบประมาณไปสู่แต่ละท้องถิ่นหรือหมู่บ้าน โดยเมื่องบประมาณไปสู่พื้นที่ก็จะมี
การตั้งกรรมการในพื้นที่ขึ้นอีกทอดหนึ่งเพื่อท าหน้าที่จัดสรรสวัสดิการไปให้ในระดับบุคคลหรือครัวเรือน การจัดสรรโดย
กรรมการในพื้นที่อาจมีการน าข้อมูลจากการส ารวจมาประกอบกการตัดสินใจอีกทีหนึ่ง ส าหรับกรณีเช่นนี้อาจกล่าวได้ว่า
การใช้ข้อมูลความยากจนนั้นเป็นไปเพื่อเจาะจงและจัดสรรงบให้พื้นที่ยากจนมากกว่าการเจาะจงที่ตัวคนยากจนเลย
เหมือนเช่นกรณีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของประเทศไทย
การเจาะจงที่พื้นที่ยากจนเป็นรูปแบบหลักที่ถูกน ามาใช้ในประเทศจีน โดยมีการเจาะจงไปที่ระดับเขต
(county) ผ่านข้อมูลเช่นรายได้เฉลี่ยของผู้อยู่อาศัยในเขต เพื่อคัดกรองหาเขตยากจนให้รัฐบาลกระจายเงินสนับสนุนไป
ให้ผ่านโครงการต่าง ๆ การเจาะจงผ่านระดับเขตของจีนได้รับการพัฒนาในเวลาต่อมาให้มีความละเอียดยิ่งขึ้น โดยมีการ
ปรับปรุงในเวลาต่อมาไปสู่การคัดกรองหาหมู่บ้านที่ยากจนแทนเพื่อให้ระดับการเจาะจงละเอียดขึ้น การเจาะจงที่พื้นที่
เช่นของจีนแม้อาจลดความยากล าบากจากการต้องเก็บข้อมูลละเอียดในระดับครัวเรือนได้ แต่ก็มากับข้อเสียส าคัญคือจะ
ท าให้คนยากจนที่ในพื้นที่ร่ ารวยนั้นหลุดจากการเป็นเป้าหมายของการเจาะจงโดยอัตโนมัติ และในทางกลับกันคนที่ไม่
ยากจนแต่อยู่ในพื้นที่ยากจนก็กลายเป็นผู้ได้รับประโยชน์
ปัญหาส าคัญที่เกิดขึ้นกับทุกกรณีที่การเจาะจงเกิดขึ้นผ่านการเก็บข้อมูลของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากการ
ส ารวจระดับครัวเรือนเช่นในกรณีของอินโดนีเซีย หรือข้อมูลในระดับพื้นที่เช่นกรณีของจีน ก็คือความคลาดเคลื่อนที่
121