Page 132 - kpiebook62001
P. 132
อินโดนีเซียและอินเดียนั้นมีความคลาดเคลื่อนในการเข้าถึงคนยากจนจริงได้สูงมาก คือมีคนยากจนจริงเข้าถึงประโยชน์
ของโครงการได้เพียงแค่ 50 เปอร์เซ็นต์หรือน้อยกว่านั้น นอกจากนี้ อัตราการรั่วไหลที่เกิดจากการใช้งบประมาณไม่ตรง
กับเป้าหมายการช่วยเหลือคนยากจนของโครงการ หรือจากการคอร์รัปชัน ก็อาจลดประโยชน์ที่จะสามารถกระจายสู่คน
จนลงไปอีก
แม้ว่าการลดความคลาดเคลื่อนจะสามารถท าได้ผ่านการลงทุนเพื่อสร้างฐานข้อมูลที่แม่นย ามากขึ้น รวมไปถึง
การพัฒนากลไกต่าง ๆ ของภาครัฐ เช่น กลไกการบริหารจัดการการกระจายงบประมาณ ดังเช่นกรณีของอินเดียที่ใช้การ
กระจายเงินสวัสดิการให้คนชราที่ยากจนโดยตรงเพื่อหลีกเลี่ยงการคอร์รัปชันโดยเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นตัวกลาง แต่การ
ปรับปรุงเหล่านี้ก็อาจจะไม่สามารถแก้ปัญหาความคลาดเคลื่อนไปได้ทั้งหมด ปัจจัยความบกพร่องที่เกิดในการเก็บข้อมูล
การเข้ามามีบทบาทตัดสินใจของเจ้าที่รัฐหรือตัวแทนชุมชนที่อาจมีเป้าหมายแตกต่าง ก็ยังเป็นสภาพพื้นฐานที่หลีกเลี่ยง
ได้ยาก บทเรียนที่ควรค านึงถึงอย่างยิ่งจึงเป็นการเข้าใจถึงข้อจ ากัดเหล่านี้ และเลือกใช้นโยบายแบบเจาะจงที่คนจนโดย
ค านึงถึงข้อจ ากัด เช่น ในกรณีที่ความคลาดเคลื่อนอาจก่อให้เกิดต้นทุนที่สูงกับสังคม เช่น การช่วยเหลือคนยากจนใน
กลุ่มเปราะบาง เช่น คนชรา หรือการช่วยเหลือเด็กวัยแรกเกิด การตัดสินใจเลือกใช้นโยบายแบบเจาะจงก็อาจเป็น
แนวทางที่สร้างต้นทุนกับสังคมได้เช่นกัน ไม่ใช่เพียงแต่แนวทางที่จะลดต้นทุนของนโยบายสวัสดิการได้
5.2 กรณีศึกษาเพื่อส้ารวจภาพรวมของการด้าเนินนโยบายสวัสดิการ
ในส่วนที่สองของกรณีศึกษา คณะวิจัยจะน าเสนอการเปรียบเทียบภาพรวมการด าเนินนโยบายสวัสดิการใน
สองประเทศพัฒนาแล้ว คือสหราชอาณาจักร และสวีเดน เพื่ออธิบายถึงการผสมนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน
เข้ากับนโยบายสวัสดิการอื่น ๆ ว่ามีที่มา พัฒนาการ และลักษณะอย่างไร รวมถึงว่าส่วนผสมดังกล่าวส่งผลต่อความ
เหลื่อมล้ าเช่นไร
สาเหตุที่คณะวิจัยเลือกสหราชอาณาจักรและสวีเดนเป็นกรณีศึกษาเนื่องจากทั้งสองประเทศเป็นตัวแทนของ
ระบบสวัสดิการสองรูปแบบที่แตกต่างกัน คือ ระบบสวัสดิการแบบเสรีนิยม (liberal) และระบบสวัสดิการแบบสังคม
นิยมประชาธิปไตย (social democratic) การเปรียบเทียบทั้งสองประเทศสามารถแสดงให้เห็นเส้นทางแตกต่างกันที่
ประเทศไทยจะเลือกเดินได้ต่อไปในการออกแบบระบบสวัสดิการ โดยเฉพาะว่าจะจัดที่ทางให้กับนโยบายสวัสดิการแบบ
เจาะจงที่คนจนอย่างไร
5.2.1 ระบบสวัสดิการของสหราชอาณาจักร
ระบบสวัสดิการของสหราชอาณาจักร ถูกจัดไว้ให้เป็นรูปแบบตัวอย่างของระบบสวัสดิการแบบเสรีนิยม อันมี
ลักษณะเด่นอยู่ที่การจ ากัดบทบาทของรัฐและส่งเสริมบทบาทของตลาด ส่งเสริมให้เกิดการแปรรูปให้เอกชนมีบทบาท
กับระบบสวัสดิการมากขึ้น ภายใต้ระบบสวัสดิการรูปแบบเช่นนี้นโยบายสวัสดิการมักให้ประโยชน์อย่างจ ากัด และ
นโยบายสวัสดิการส่วนใหญ่มักมุ่งช่วยเหลือเพียงคนจน จึงมาพร้อมกับระบบพิสูจน์ความยากจน (means-tested)
ในขณะที่อัตราภาษีก็ถูกจ ากัดเช่นกันให้ไม่สูงนัก แง่มุมส าคัญอีกประการก็คือการจัดแบ่งคนยากจนออกเป็นกลุ่มที่ควร
123