Page 135 - kpiebook62001
P. 135

แม้ว่าจะใช้แนวทางการเจาะจงที่คนจนมาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี แต่สหราชอาณาจักรก็มีระดับความเหลื่อม

               ล้ าสูงเมื่อเทียบกับประเทศยุโรปอื่น ๆ ส่วนใหญ่ ดัชนีจีนี่ของสหราชอาณาจักรในปีคศ.2016 อยู่ที่ 0.35 เทียบกับ
               ประเทศเช่นฝรั่งเศสอยู่ที่ 0.29 และประเทศในแสกนดิเนเวียเช่นเดนมาร์กที่ 0.26 หรือสวีเดนที่ 0.28 (OECD, 2019)

               การศึกษาเปรียบเทียบรัฐสวัสดิการในยุโรปจัดอันดับสภาพปัญหาความยากจนและความแปลกแยกทางสังคมให้สหราช

               อาณาจักรอยูที่ล าดับ 15 จาก 23 ประเทศในยุโรป (The Independent, 2016) ซึ่งถือเป็นอันดับที่ค่อนข้างต่ าเมื่อเทียบ
               กับขนาดเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรที่ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของภูมิภาคยุโรป

                       สภาพความเหลื่อมล้ าที่สูงของสหราขอาณาจักรในปัจจุบันเป็นสภาพที่พัฒนาขึ้นมาในช่วงหลังกลางทศวรรษที่

               1970  ในต้นทศวรรษ 1970 นั้นความเหลื่อมล้ าของสหราชอาณาจักรยังอยู่ที่ค่าจีนี่เพียง 0.26 แต่แล้วความเหลื่อมล้ า
               ในสหราชอาณาจักรกับแย่ลงอย่างต่อเนื่องพร้อม ๆ กับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและการลดบทบาทของรัฐสวัสดิการ

               โดยช่วงทศวรรษ 1980 ซึ่งเกิดการปฏิรูปของแทชเชอร์นั้น ค่าจีนีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากประมาณ 0.26 ไปสู่ 0.34 และ

               สภาพความเหลื่อมล้ าของสหราชอาณาจักรก็อยู่ในระยะใกล้เคียงกันหลังจากนั้น (The Equality Trust, 2019) จึงกล่าว
               ได้ว่าการปรับตัวของระบบสวัสดิการในสหราชอาณาจักรที่เกิดพร้อม ๆ การปฏิรูปของแทชเชอร์ ซึ่งคือการเปลี่ยนแปลง

               รูปแบบสวัสดิการไปสู่สวัสดิการแบบเสรีนิยม มีความเชื่อมโยงกับความเหลื่อมล้ าที่เพิ่มขึ้นของสหราชอาณาจักร

                        การก้าวเข้าสู่เส้นทางของระบบสวัสดิการแบบเสรีนิยมของสหราชอาณาจักร ยังน ามาซึ่งการตัดสวัสดิการ
               เพิ่มเติมเมื่อประเทศต้องประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ เช่นที่เกิดขึ้นในช่วงหลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในช่วงกลางทศวรรษ

               2000 รัฐบาลช่วงต้นทศวรรษ 2010 ที่น าโดยนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน เสนอทางออกเป็นนโยบายลดรายจ่าย

               ภาครัฐและตัดสวัสดิการ ภายในระยะเวลาเพียงสี่ปีนโยบายดังกล่าวส่งผลให้สภาพเช่นความยากจนในเด็กของสหราข
               อาณาจักรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะส าคัญ โดยจ านวนเด็กที่อยู่ในปัญหาความยากจนโดยเปรียบเทียบเพิ่มขึ้นถึงกว่า 6 แสน

               คน และส่งผลให้สภาพความยากจนของครัวเรือนกว่า 1.75 ล้านครัวเรือนนั้นแย่ลง (The Guardian, 2014)

                        กล่าวได้ว่านอกจากผลในการเพิ่มความเหลื่อมล้ าในช่วงตั้งแต่การปรับโครงสร้างเพื่อเข้าสู่เส้นทางของ
               สวัสดิการแบบเสรีนิยมที่เน้นการเจาะจงคนจนของสหราชอาณาจักรแล้ว การก้าวเข้าสู่เส้นทางดังกล่าวยังน ามาซึ่งผลอีก

               หลายประการ เช่น การตีตราผู้ได้รับสวัสดิการผ่านการช่วยเหลือคนยากจนให้เป็นภาระ การสร้างเส้นแบ่งระหว่างผู้

               ได้รับสวัสดิการที่ควรได้รับการช่วยเหลือและผู้ที่ไม่ควร สภาพเหล่านี้ยังสร้างความเป็นไปได้ที่มากขึ้นที่รัฐบาลจะหันมา
               เลือกใช้การตัดงบประมาณสวัสดิการเป็นแนวทางจัดการปัญหาเศรษฐกิจ อันท าให้การลดความเหลื่อมล้ าภายใต้

               สวัสดิการแบบเสรีนิยมนั้นเป็นเรื่องที่ยากยิ่งขึ้นในระยะยาว

                   5.2.2 ระบบสวัสดิการของสวีเดน


                        เมื่อเปรียบเทียบกับสหราชอาณาจักร สวีเดนมีระบบสวัสดิการที่แตกต่างไปในหลายรายละเอียด ระบบ
               สวัสดิการของสวีเดนเป็นตัวอย่างของระบบสวัสดิการแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social Democratic) ที่เน้น

               บทบาทที่กว้างขวางของภาครัฐ การให้สวัสดิการมีระดับสิทธิประโยชน์สูง โดยมาพร้อม ๆ กับอัตราภาษีที่ค่อนข้างสูง

               เช่นกัน ระบบสวัสดิการแบบนี้เน้นการใช้นโยบายสวัสดิการแบบถ้วนหน้า และให้ความส าคัญกับกลไกการกระจาย


                                                               126
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140