Page 133 - kpiebook62001
P. 133

ได้รับและไม่ควรได้รับสวัสดิการ โดยลักษณะส าคัญของคนจนที่ควรได้รับสวัสดิการก็คือเป็นกลุ่มคนที่มุ่งกลับสู่การ

               ท างาน

                       (1) เส้นทาง

                       เส้นทางของระบบสวัสดิการสหราชอาณาจักรมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การ

               เปลี่ยนแปลงของระบบสวัสดิการสหราชอาณาจักรเคยถูกมองเป็นจุดเริ่มส าคัญของระบบสวัสดิการสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นใน

               ยุโรป ค ากล่าวถึงการมีระบบสวัสดิการรองรับชีวิตจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน (from cradle to grave) แท้จริงแล้ว
               ก็เป็นค ากล่าวที่ใช้ระบุแนวคิดเบื้องหลังการสร้างระบบสวัสดิการของสหราชอาณาจักรในช่วงทศวรรษ 1940

                        ปัจจัยส าคัญที่น ามาซึ่งการขยายตัวของระบบสวัสดิการในช่วง 1940 นี้ก็คือความเห็นร่วมในสังคมช่วงหลัง

               สงครามโลกถึงความจ าเป็นของการมีระบบสวัสดิการที่ช่วยดูแลทุกคน สภาวะความคิดนี้ถูกถ่ายทอดออกมาในรายงาน
               ของเบเวอร์ริจ (Beveridge Report) ซึ่งเป็นรายงานการศึกษาชิ้นส าคัญที่เป็นฐานการออกแบบระบบสวัสดิการของส

               หราชอาณาจักร หัวใจของรายงานชิ้นนี้คือการถือระบบสวัสดิการเป็นสิทธิทางสังคมที่ประชาชนพึงได้รับ มุ่งเน้น

               การศึกษาเป็นเครื่องมือในการสร้างโอกาสที่ทัดเทียม ให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึงการบริการทางสาธารณสุขที่
               มีคุณภาพ และมีการคุ้มครองทางสังคม (Taylor and Powell, 2017) รายงานของเบเวอร์ริจน าไปสู่การริเริ่มระบบการ

               รักษาพยาบาลถ้วนหน้าที่ประชาชนทุกคนเข้าถึงได้อย่าง National Health Services (NHS) ระบบประกันสังคมส าหรับ

               แรงงาน (National Insurance) และระบบการช่วยเหลือผู้มีรายได้ขั้นต่ า (National Assistance) การขยายตัวของ
               ระบบสวัสดิการสหราชอาณาจักรในช่วงเวลานี้ช่วยส่งอิทธิพลให้ประเทศอื่น ๆ ในยุโรปเดินตามแนวทางคล้ายกัน ท าให้

               ฐานะของระบบสวัสดิการกลายเป็นมากกว่าแค่การตอบสนองกับปัญหาความยากจน แต่กลายเป็นส่วนหนึ่งของบริการ

               สาธารณะที่รัฐพึงสร้างให้กับประชาชนโดยทั่วไป (Hills, 1993)
                        อย่างไรก็ตาม เส้นทางของระบบสวัสดิการในสหราชอาณาจักรกลับพบความพลิกผัน โดยเฉพาะเมื่อนโยบาย

               เศรษฐกิจแบบเคนส์เซี่ยน (Keynesian) ได้รับความนิยมลดลง นโยบายดังกล่าวใช้รายจ่ายรัฐเพื่อเป็นเครื่องมือ

               ประคับประคองระดับการจ้างงานของสหราชอาณาจักร แต่เมื่อเข้าสู่ทศวรรษ 1970 กลับถูกโจมตีอย่างมากว่าล้มเหลว
               ในการเป้าหมาย นอกจากนี้เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรยังเผชิญกับภาวะที่ภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ที่ประเทศพึ่งพิงมา

               ยาวนาน เช่น ถ่านหิน ฝ้าย นั้นล้วนแต่ขาดความก้าวหน้าในการผลิต จนท าให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้ช้า (Hills,

               1993)
                        ปัญหาเรื่องทางเศรษฐกิจและการว่างงานที่เรื้อรัง ส่งผลให้ในช่วงเวลาดังกล่าวเกิดแนวคิดใหม่เกี่ยวกับบทบาท

               ของรัฐและระบบสวัสดิการ บทบาทของภาครัฐเริ่มถูกโจมตีอย่างหนักถึงความไร้ประสิทธิภาพ สหภาพแรงงานถูกมองว่า

               เป็นอุปสรรคต่อการปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจให้ก้าวหน้า แนวคิดเกี่ยวกับระบบสวัสดิการก็เริ่มเปลี่ยนแปลงเช่นกัน
               ระบบสวัสดิการเริ่มถูกมองในฐานะต้นทุน ในขณะที่ผู้ได้รับสวัสดิการถูกตีตราเป็นภาระกับสังคม

                       การปฏิรูประบบสวัสดิการของสหราชอาณาจักรเกิดขึ้นภายใต้การปรับเปลี่ยนมุมมองนี้ เริ่มตั้งแต่การ

               ปรับเปลี่ยนการบริหารสวัสดิการให้รัฐบาลกลางเข้าควบคุมได้มากขึ้น การแสวงหาประสิทธิภาพในการบริหารระบบ


                                                               124
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138