Page 36 - kpiebook62001
P. 36
ด้วยความสัมพันธ์ใกล้ชิดภายในชุมชนเอง โดยผู้ที่มีอ านาจในการเลือกก็อาจเลือกคนที่ใกล้ชิดกับตนเองก่อนท าให้การ
ช่วยเหลือไม่กระจายไปสู่คนที่ควรได้รับ ปัญหาเช่นนี้จะได้รับการกล่าวถึงในส่วนถัดไปของรายงาน
การเจาะจงผ่านกลุ่มคนหรือพื นที่ (categorical targeting) คือการเจาะจงโดยเลือกกลุ่มคน เช่น คนที่
ประกอบอาชีพเดียวกัน อยู่ในกลุ่มอายุเดียวกับ หรืออยู่ในกลุ่มชาติพันธ์เดียวกัน ทั้งนี้ส่วนใหญ่ของกลุ่มคนที่ถูกเลือกมา
ควรจะมีฐานะทางเศรษฐกิจที่จ าเป็นจะต้องได้รับสวัสดิการ และลักษณะที่ใช้เป็นฐานการเลือกกลุ่มนั้นก็ควรจะมีความ
ชัดเจนพอที่ท าให้การแบ่งกลุ่มไม่ใช่เรื่องยาก ตัวอย่างเช่น การเลือกให้สวัสดิการเฉพาะกับคนชราที่อายุมากกว่าก าหนด
อีกวิธีที่ส าคัญของการเจาะจงเฉพาะกลุ่มก็คือการเจาะจงไปที่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่น่าจะมีฐานะทางเศรษฐกิจด้อย
กว่า หรือมีข้อมูลระบุว่าพื้นที่ดังกล่าวมีคนจนอาศัยอยู่เป็นจ านวนมาก การเจาะจงผ่านกลุ่มคนหรือพื้นที่นี้ช่วยลดต้นทุน
ในการคัดกรองฐานะของผู้ต้องการได้รับสิทธิสวัสดิการได้ อย่างไรก็ตาม กระบวนการเช่นนี้ก็มีความเสี่ยงสูงที่ทรัพยากร
จะรั่วไหลไปสู่คนที่ไม่ได้มีฐานะยากจนอย่างแท้จริง
การเจาะจงผ่านการให้ประชาชนเลือกเข้ารับบริการเอง (self-selection) การเจาะจงในรูปแบบนี้ไม่ได้มี
กระบวนการคัดกรองคนที่จะได้รับสวัสดิการ แต่ใช้วิธีการท าให้ลักษณะของบริการที่รัฐให้นั้นเป็นบริการที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่
จะเป็นคนจน ในขณะที่คนที่ไม่ยากจนนั้นมักจะไม่เลือกใช้ วิธีการเหล่านี้ก็เช่นการเพิ่มต้นทุนในด้านเวลาของการเข้ารับ
บริการ การลดคุณภาพบางส่วนของการบริการ ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของวิธีการนี้ก็เช่น โครงการจ้างงานของรัฐที่ให้
ค่าจ้างค่อนข้างต่ า การแจกสินค้าเพื่อคนจนที่จ าเป็นจะต้องเข้าคิวเป็นเวลานาน หรือการอุดหนุนบริการสาธารณะที่
ประชาชนฐานะยากจนใช้เป็นหลัก ดังเช่นในกรณีรถเมล์ฟรีของประเทศไทย การเจาะจงผ่านวิธีการเช่นนี้ไม่มี
กระบวนการคัดกรอง อย่างไรก็ตาม ผลเสียก็คือการท าให้ต้นทุนในการรับบริการไปตกอยู่กับกลุ่มคนจนเอง
ก่อนจะไปสู่ส่วนถัดไป ควรกล่าวเสียก่อนว่ารูปแบบการเจาะจงต่าง ๆ ที่กล่าวถึงในที่นี้ไม่จ าเป็นจะต้องถูกเลือก
มาใช้แค่วิธีใดวิธีหนึ่ง แต่ผู้ด าเนินนโยบายสามารถเลือกเอาวิธีการต่าง ๆ มาผสมผสานกันเพื่อให้ได้ผลที่ต้องการชัดเจน
มากขึ้น เช่น การเจาะจงด้วยการวัดฐานะทางเศรษฐกิจอาจถูกน ามาผสมกับการเจาะจงผ่านกลุ่มคนได้ ดังในกรณีการให้
สวัสดิการไปเฉพาะกับคนชราที่มีฐานะยากจน เป็นต้น
2.2.3 การสร้างเงื่อนไขที่มาพร้อมการได้รับสวัสดิการ
การก าหนดเงื่อนไข (conditionalities) แง่มุมที่เป็นที่สนใจอย่างมากในการออกแบบนโยบายสวัสดิการแบบ
เจาะจงในปัจจุบันคือแง่มุมของการก าหนดเงื่อนไขที่มาพร้อมกับการได้รับสวัสดิการ ตัวอย่างส าคัญของการก าหนด
เงื่อนไขก็คือนโยบายการให้เงินอุดหนุนพร้อมเงื่อนไข (conditional cash transfer: CCTs) ที่ถูกน ามาใช้ในหลาย
ประเทศก าลังพัฒนา
นโยบายการให้เงินอุดหนุนพร้อมเงื่อนไขมีจุดประสงค์ในการลดความยากจนไปพร้อม ๆ กับการสร้างทุนมนุษย์
ให้กับคนในรุ่นต่อไปเพื่อป้องกันการถ่ายทอดปัญหาความยากจนในลักษณะรุ่นต่อรุ่น นโยบายในลักษณะนี้ถูกคิดค้นขึ้น
ในภูมิภาคละตินอเมริกา โดยมีประเทศเช่นเม็กซิโกและบราซิลเป็นประเทศแรกๆที่น ามาใช้ การให้เงินอุดหนุนพร้อม
เงื่อนไขนี้เกิดขึ้นโดยการให้ครัวเรือนได้รับเงินอุดหนุนโดยมีเงื่อนไขเชื่อมโยงการได้รับเงินกับการต้องส่งบุตรธิดาเข้าเรียน
27