Page 39 - kpiebook62001
P. 39

หรือบริการบางชนิดที่คนจนมักจะบริโภค ก็ยังอาจส่งผลให้การใช้สินค้าหรือบริการนั้นเกิดขึ้นในปริมาณที่มากเกินความ

               เหมาะสม
                       ต้นทุนส่วนตัวกับผู้รับสวัสดิการ ยังเกิดขึ้นได้กับผู้ที่รับสวัสดิการแบบเจาะจงในสองกรณี ในกรณีแรก ผู้ที่ได้รับ

               สวัสดิการแบบเจาะจงมักจะต้องสูญเสียโอกาสและเวลาเพื่อให้ได้รับสวัสดิการ ในกรณีของสวัสดิการที่เจาะจงผ่านการ

               วัดฐานะทางเศรษฐกิจ การเข้ารับการคัดเลือกเพื่อให้ได้รับสวัสดิการท าให้ต้องสูญเสียเวลาและต้นทุนต่าง ๆ ในการหา
               หลักฐานมาเพื่อยืนยันฐานะ ส าหรับกรณีของการเจาะจงสวัสดิการด้วยวิธีการให้ประชาชนเลือกรับบริการเอง การต้อง

               เสียเวลาต่อคิวในการได้รับสวัสดิการ รวมไปถึงการต้องยอมรับบริการที่คุณภาพด้อยกว่า ก็ล้วนแต่เป็นต้นทุนที่เกิด

               ขึ้นกับคนจน  กรณีที่สองที่ต้นทุนสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ได้รับสวัสดิการก็คือกรณีที่สวัสดิการนั้นท าให้เกิดการตีตรา
               (stigmatisation) กับผู้ได้รับ การได้รับสวัสดิการส าหรับคนจนอาจสร้างความรู้สึกอับอายและความรู้สึกด้อยค่าในหมู่คน

               ที่เข้าร่วมโครงการ (Sen 1995) โดยฉพาะในกรณีที่สวัสดิการส าหรับคนจนนั้นถูกมองว่าเป็นการให้การสงเคราะห์ให้กับ

               คนที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ในบริบทที่การตีตรากลายเป็นบรรทัดฐานของสังคม ก็อาจส่งผลให้คนที่ยากจนไม่ยอมเข้า
               ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการได้รับสวัสดิการตั้งแต่แรก ท าให้กระบวนการเจาะจงต้องขาดความแม่นย าไปด้วย

                       ต้นทุนจากการลดการสนับสนุนระบบสวัสดิการทั งหมด เป็นต้นทุนประการสุดท้ายที่ควรค านึง การให้

               สวัสดิการเฉพาะกับคนจนอาจท าให้คนกลุ่มอื่น ๆ ในสังคมไม่รู้สึกว่าตนเองได้รับประโยชน์ใด ๆ จากระบบสวัสดิการ
               และส่งผลให้คนเหล่านั้นไม่สนับสนุนระบบสวัสดิการ ในกรณีที่คนชั้นกลางและคนชั้นสูงเป็นกลุ่มที่รู้สึกว่าตนเองไม่รับ

               ประโยชน์ใด ๆ พวกเขาอาจรู้สึกว่าต้องจ่ายภาษีเพื่อช่วยเหลือคนจนโดยที่ตนเองไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ กลับมา เมื่อเป็น

               เช่นนี้ การสนับสนุนทางการเมืองของระบบสวัสดิการอาจลดลงจนท าให้ขนาดของระบบสวัสดิการลดลงไปด้วย และอาจ
               ท าให้โครงการสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนเองขาดความยั่งยืนเนื่องจากได้รับงบประมาณไม่เพียงพอ (Dutrey, 2007)


                   2.3.2 ข้อผิดพลาดในการเจาะจง


                       ด้วยความยากล าบากของกระบวนการเจาะจงให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง การให้สวัสดิการแบบเจาะจงจึงมักจะเลี่ยง

               ไม่ได้ที่จะต้องพบกับข้อผิดพลาดที่ส าคัญสองประการ ประการแรกก็คือการที่ผู้ที่ไม่ควรได้รับสวัสดิการกลับถูกรวมเข้ามา
               ในกลุ่มที่ได้รับ ความผิดพลาดในลักษณะนี้เรียกว่าความผิดพลาดในการนับรวม (inclusion error) ความผิดพลาดใน

               การเจาะจงประการที่สองก็คือการที่ผู้ที่ควรได้รับสวัสดิการกลับไม่ได้รับ หรือที่เรียกว่าความผิดพลาดในการกีดกัน
               (exclusion error)

                       ความผิดพลาดในการนับรวมคนที่ไม่ควรได้รับสวัสดิการ (inclusion error) เป็นสิ่งที่ท าให้เกิดการสูญเสีย

               งบประมาณ และอาจท าให้นโยบายถูกโจมตีจากสาธารณชนได้ถึงความบกพร่องในการด าเนินการ ความผิดพลาดใน
               ลักษณะนี้เกิดขึ้นได้จากกระบวนการคัดกรองที่ไม่เข้มข้นพอ เช่น การมีช่องโหว่ในการหาหลักฐานเพื่อตรวจสอบฐานะ

               ของผู้ที่ต้องการได้รับสวัสดิการ อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดในการกีดกันคนที่ควรได้รับสวัสดิการออก (exclusion

               error) ก็ท าให้เกิดการสูญเสียได้ไม่แพ้กัน โดยเฉพาะกรณีที่คนและครอบครัวที่ต้องการสวัสดิการช่วยเหลือนั้นอาจก าลัง
               ต้องประสบภาวะวิกฤตในชีวิต แต่กลับไม่ได้รับสวัสดิการช่วยเหลือใด ๆ


                                                               30
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44