Page 74 - kpiebook62001
P. 74

ติดตั้งเครื่องอ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐบนรถเมล์ (แต่สุดท้ายโครงการดังกล่าวยกเลิกไปเนื่องจากเครื่องอ่านบัตร และนับ

               เหรียญใช้งานได้ไม่สะดวก) โครงการบริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปี พ.ศ. 2560 หรือทัศนะต่อโครงการหลักประกัน
               สุขภาพถ้วนหน้าดังที่ได้อภิปรายไว้ในหัวข้อก่อนหน้า แม้ว่าโครงการเหล่านี้จะไม่ได้ถูกระบุไว้ชัดเจนในเอกสารทางการ

                                                   4
               ของรัฐว่าเป็นหนึ่งในนโยบายประชานิยม  แต่อาจสะท้อนมุมมองของรัฐบาล คสช. ได้ว่าไม่เห็นด้วยกับนโยบาย
               สวัสดิการแบบถ้วนหน้า นอกจากนั้น ข้อเท็จจริงในหัวข้อการยกเลิกหรือปรับปรุงรูปแบบนโยบายสวัสดิการ ผนวกกับ
               การกล่าวอ้างทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการว่านโยบายสวัสดิการต่าง ๆ ว่าเป็นนโยบายประชานิยม ยิ่งเสริมสร้าง

               ความชอบธรรมให้กับนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐด้านประสิทธิภาพในการเข้าถึงคนจนและการใช้จ่ายภาครัฐ

                   3.4.3 ภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองและการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก


                       ตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา รัฐบาล คสช. ภายใต้การน าของพลเอก
               ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถูกวิพากย์วิจารณ์ด้านเศรษฐกิจอย่างมาก ภาพที่ 3.6 และ ภาพที่ 3.7 แสดงอัตราการเติบโตของ

               ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมและอัตราเงินเฟ้อตามล าดับ แม้ว่าตัวเลขต่าง ๆ ดังกล่าวจะเริ่มดีขึ้นตามล าดับหลังจากความ

               กังวลในปี พ.ศ. 2557 แล้ว แต่รัฐบาลชุดนี้ยังต้องเจอกับภาวะราคาสินค้าเกษตรและราคาน้ ามันตกต่ า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง
               ในการกดดันให้เงินเฟ้อหลุดกรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา นอกจากนี้หาก

               แยกตัวเลขการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศจะยิ่งเห็นได้ชัดว่ามูลค่าผลผลิตในภาคเกษตรตกต่ าลงมาก

               ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตร ในทางกลับกันมูลค่านอกภาคเกษตรกลับฟื้นตัวได้ดีและเป็นสัดส่วนที่ใหญ่กว่า
               เพราะเส้นอัตราการเติบโตนอกภาคเกษตรเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับเส้นอัตราการเติบโตในภาพรวม






























                       4  มีงานศึกษาของส านักงานบริหารหนี้สาธารณะเรื่องความคุ้มค่าของ ‘โครงการรถเมล์ฟรี’ (พิมพ์เพ็ญ ลัดพลี และ คณะ, 2560)
               กล่าวว่า “...หากมองผิวเผินจะเห็นว่า โครงการรถเมล์ฟรี เป็นนโยบายประชานิยมที่ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของ ขสมก. ....

               อย่างไรก็ดี จากการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ (Cost-Benefit Analysis) พบว่า โครงการรถเมล์ฟรีมีความคุ้มค่าเชิงสังคม
               แต่ไม่คุ้มค่าทางการเงิน”
                                                               65
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79