Page 72 - kpiebook62001
P. 72

“จากปัญหาจึงน ามาสู่หลักคิดในการพัฒนาระบบการจัดสรรสวัสดิการให้มีประสิทธิภาพ

                       ก่อให้เกิดประสิทธิผล ตรงเป้า เป็นธรรม และยั่งยืน เพื่อบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ าในระยะยาวได้
                       นั้น จ าเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เปรียบเสมือนการมี

                       ขั้นบันได 3 ขั้นคือ “ชี้เป้า-จัดสูตร-บูรณาการ” เพื่อให้การจัดสรรสวัสดิการสวัสดิการในอนาคตเป็นการ

                       จัดสรรสวัสดิการแบบถูกฝาถูกตัวอย่างแท้จริง”
               ที่มา: ศรพล ตุลยะเสถียร และคณะ (2560)


                       ประการสุดท้าย งานศึกษาต่าง ๆ ข้างต้นเชื่อมั่นว่าการให้สวัสดิการแบบเหวี่ยงแห หรือแบบถ้วนหน้าที่ท าให้
               เกิด Exclusion error และ Inclusion Error จ านวนมากไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ าได้ ดัง

               ข้อความด้านล่างนี้

                              “ข้อมูลข้างต้น (ตามตารางที่ 3.2) สอดคล้องกับการศึกษาของ Jansen และ Khannabha

                       (2009) ซึ่งท าการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับนโยบายการคลังของไทยและได้ข้อสรุปว่า นโยบายการ

                       คลังของไทยมิได้ช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ าในการกระจายรายได้ ซึ่งไม่
                       เพียงแต่รายจ่ายเพื่อลดความยากจน (Direct Anti-Poverty Spending) ของไทยต่ ามากเท่านั้น แต่ยัง

                       ไม่ได้จัดสรรไปยังผู้ที่ยากจน (Not Well-targeted) อีกด้วย”

               ที่มา: ปัณณ์ อนันอภิบุตร และคณะ (2556)
               หมายเหตุ: ข้อความเน้นตัวหนาในวงเล็บเพิ่มโดยผู้วิจัย


                       ในทางกลับกัน การจัดสรรสวัสดิการแบบถูกฝาถูกตัวไม่ว่าจะเป็นนโยบายภาษีติดลบหรือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

               มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ าได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากกว่านโยบาย
               ต่าง ๆ ที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนผ่านข้อความดังนี้


                              “… Negative Income Tax (NIT) ซึ่งเป็นการโอนเงินสดไปยังผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงิน
                       ได้บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ต่ ากว่าระดับที่ก าหนดไว้ ซึ่งเครื่องมือนี้สามารถใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการ

                       จัดสวัสดิการ โดยระบุตัวผู้ที่สมควรได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นการดูแลคน

                       จนอย่างเป็นระบบ อันจะช่วยให้รัฐบาลใช้จ่ายเงินงบประมาณเพื่อวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาความ
                       ยากจนและลดความเหลื่อมล้ าในการกระจายรายได้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากขึ้น”


               ที่มา: ปัณณ์ อนันอภิบุตร และคณะ (2557)

                       จากการสัมภาษณ์นักวิชาการ สศค. ถึงกระบวนการและที่มาของโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประกอบกับ

               การทบทวนงานศึกษาต่าง ๆ ข้างต้น ผู้วิจัยพบว่า สศค. ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการด าเนิน

               โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐตั้งแต่ในระยะแรก เนื่องจากได้ท าการศึกษานโยบายลักษณะคล้ายคลึงกันหรือนโยบาย




                                                               63
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77