Page 70 - kpiebook62001
P. 70
และช่วงเงินโอนลดลง (phase-out) ที่จะค่อย ๆ ลดจ านวนเงินโอนลงเมื่อผู้มีสิทธิรับเงินโอนมีรายได้สูงกว่าระดับเส้น
ความยากจน เงินโอนจะค่อย ๆ ลดลงไปจนกว่าผู้มีสิทธิรับเงินโอนมีรายได้ 80,000 บาทต่อปี หรือ ณ ระดับค่าจ้างขั้นต่ า
(ณ ปี พ.ศ. 2557)
นอกจากนั้น หลาย ๆ ประเทศในโลกนี้ที่ได้ปรับเอาแนวคิดภาษีติดลบไปใช้เป็นนโยบาย เช่น Earned Income
Tax Credit ในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 Working Tax Credit ของสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี พ.ศ.
2545 Working Income Tax Benefit ของประเทศแคนาดาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ซึ่งแต่ละประเทศนั้นต่างก็ก าหนด
เงื่อนไขหนึ่งของผู้รับเงินโอนไว้ก็คือจะต้องท างานเท่านั้นถึงจะมีสิทธิได้รับเงินโอน โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐก็
พยายามผลักดันให้ผู้ถือบัตรนั้นได้ไปฝึกอาชีพกับหลักสูตรของกระทรวงแรงงานเช่นกัน จึงอาจสรุปได้ว่ารูปแบบ
โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีฐานคิดและถูกดัดแปลงมาจากข้อเสนอแนวคิดนโยบายภาษีติดลบของ สศค. นั่นเอง
ประเด็นที่สอง งานศึกษาข้างต้นพยายามชี้ให้เห็นว่างบประมาณด้านสวัสดิการของไทยสูงขึ้นทุกปี โดยอ้างอิง
จากงานศึกษาของสุรจิต ลักษณะสุต และคณะ (2553) ที่พบว่าในช่วงปี พ.ศ. 2550-2554 งบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้น
เฉลี่ยร้อยละ 8.8 ขณะที่งบประมาณด้านสวัสดิการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 12.5 โครงการที่มักถูกน ามาอ้างถึงเสมอคือเบี้ย
ยังชีพผู้สูงอายุ ดังข้อความนี้
“...ระบบสวัสดิการของไทยต้องใช้งบประมาณมากกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งมีสาเหตุส่วนหนึ่งมา
จากการไม่สามารถระบุตัวผู้ที่สมควรได้รับการช่วยเหลือได้ ทั้งนี้ หากพิจารณางบประมาณที่ต้องใช้
ส าหรับการด าเนินนโยบายแบบถ้วนหน้า (Universal Coverage) ในกรณีตัวอย่างของเบี้ยยังชีพ
คนชรา (มีชื่อเป็นทางการว่า “โครงการสร้างหลักประกันรายได้แก่ผู้สูงอายุ”) ซึ่งในอดีตนั้น รัฐบาลไทย
เคยใช้วิธีการจัดสรรเบี้ยยังชีพคนชราโดยวิธีการตรวจสอบรายได้ (Means Test) อย่างไรก็ตามด้วย
อุปสรรคทางด้านความยุ่งยากในการคัดกรองคนจนเพื่อหาบุคคลผู้มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพ ซึ่งมีต้นทุน
ค่อนข้างสูง ประกอบกับการที่ระบบ Means Test มักจะน าไปสู่ปัญหาที่เรียกว่า Exclusion Error (นั่น
คือ การที่คนยากจนจริง ๆ ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล) ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 รัฐบาลจึงได้
ยกเลิกระบบ Means Test โดยเปลี่ยนมาใช้ระบบถ้วนหน้าแทน”
ที่มา: ปัณณ์ อนันอภิบุตร และคณะ (2556)
หมายเหตุ: ข้อความเน้นตัวหนาและในวงเล็บมาจากต้นฉบับ
อีกทั้งสัดส่วนของผู้รับประโยชน์ที่เป็นคนจนของนโยบายสวัสดิการต่าง ๆ ที่ภาครัฐเคยจัดท ามายังค่อนข้างต่ า
ดังตารางที่ 3.2 ด้านล่างนี้
ตารางที่ 3.2 การเข้าถึงบริการที่รัฐจัดให้ จ าแนกตามกลุ่มผู้รับประโยชน์ (คนจนและคนไม่จน)
การเข้าถึงบริการ ไม่จน จน
เงินกู้เพื่อการศึกษา 99.8 0.2
ธนาคารประชาชน 97.9 2.1
61