Page 71 - kpiebook62001
P. 71

การเข้าถึงบริการ                ไม่จน                จน

                             กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง              91.2                8.8

                             ทุนการศึกษา                              90.9                9.1
                             กองทุนอื่น ๆ                             89.2               10.8

                             เบี้ยผู้สูงอายุ                          80.4               19.6

                             เงินสงเคราะห์ผู้พิการ                    78.9               21.1

               ที่มา: ดัดแปลงจาก ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2551) อ้างในปัณณ์ อนันอภิบุตร
               และคณะ (2556)


                       ข้อความและการอ้างอิงตารางข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงทัศนะของผู้ศึกษางานดังกล่าวว่า “ผู้ที่สมควรได้รับการ
               ช่วยเหลือ” นั้นควรเป็นกลุ่มคนจนเท่านั้น นอกจากปัญหา Exclusion Error แล้ว ปัญหา Inclusion Error ก็เป็นหนึ่งใน

               ความกังวล ซึ่งเห็นได้จากประโยค “รัฐบาลต้องใช้เงินงบประมาณสูงกว่าที่ควรจะเป็น...” ในบริบทนี้

                              “...ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 รัฐบาลได้จ่ายเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุที่ “ไม่จน” เป็นจ านวน
                       ถึง 7.1-1.1 = 6 ล้านคน ท าให้รัฐบาลต้องใช้เงินงบประมาณสูงกว่าที่ควรจะเป็นถึง 56,583-8,766 =

                       47,817 ล้านบาท/ปี ซึ่งในทางวิชาการเรียกว่า Inclusion Error (นั่นคือ ผู้ที่ไม่สมควรได้รับประโยชน์

                       จากโครงการสวัสดิการของรัฐ พลอยได้รับประโยชน์ไปด้วย)”
               ที่มา: ปัณณ์ อนันอภิบุตร และคณะ (2556)


                       รายงานสรุปโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐในระยะแรกของศรพล ตุลยะเสถียร และคณะ (2560) ให้
               ภาพที่สอดคล้องกัน จากข้อความด้านล่างที่ชี้ให้เห็นว่าการระบุตัวคนจนเพื่อจัดสรรสวัสดิการให้อย่าง “ถูกฝาถูกตัว”

               เป็นการจัดสรรสวัสดิการอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก

                              “การจัดสรรสวัสดิการตั้งแต่ต้นทางจนถึงมือประชาชนในปัจจุบันยังมีช่องว่างที่สามารถ
                       ปรับปรุงได้อยู่หลายประการ ได้แก่ 1) หน่วยงานที่เป็นเจ้าของสวัสดิการด้านเศรษฐกิจและสังคมมีหลาย

                       หน่วยงานที่มุ่งช่วยเหลือเรื่องรายได้บางประเภท ไม่ได้น าเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับฐานะในด้านอื่น ๆ มาร่วม

                       พิจารณาด้วย 2) สวัสดิการที่เป็นตัวเงินบางประเภทยังคงเป็นการให้แบบเหวี่ยงแหท าให้การจัดสรร
                       ทรัพยากรที่มีจ ากัดไม่ได้ไปถึงมือคนที่จ าเป็นในจ านวนที่เหมาะสม 3) สวัสดิการที่ใช้ดุลยพินิจของ

                       เจ้าหน้าที่เป็นเกณฑ์อาจเกิดปัญหาการเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่ได้และผู้ที่ไม่ได้ 4) ขาดการปรับปรุง

                       ข้อมูลให้ทันสมัย ท าให้เกิดการรั่วไหลของเม็ดเงินสวัสดิการ ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และ
                       ความโปร่งใสของการจัดสรรสวัสดิการ และ 5) การจัดสรรสวัสดิการให้ถึงมือประชาชนยังมีค่าใช้จ่าย

                       จ านวนหนึ่งที่ประชาชนต้องแบกรับในการไปรับเงินสดจากหน่วยงานภาครัฐหรือไปธนาคารเพื่อถอน

                       เงิน”

                       จึงเป็นเหตุเป็นผลให้

                                                               62
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76