Page 69 - kpiebook62001
P. 69

สามารถยกเลิกไปได้โดยไม่มีการต่อต้านจากประชาชนมากนัก แต่ส าหรับโครงการที่มีความอ่อนไหว ได้แก่ เบี้ยยังชีพ

               ผู้สูงอายุที่ใช้วิธีการละมุนละม่อมกว่าการยกเลิก และโครงการหลักประกันสุขภาพนั้น มีเพียงการออกมาแสดงทัศนะ
               และความกังวลต่อภาระทางการคลังเท่านั้น



               3.4 การเกิดขึ นของโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ



                       การศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ก าหนดนโยบายรวมถึงนักวิชาการ ผู้วิจัยสรุปได้ว่าโครงการบัตรสวัสดิการ
               แห่งรัฐเกิดขึ้นด้วยหลายเหตุปัจจัย ได้แก่ (1) การค านึงถึงประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณ (2) ภาวะเศรษฐกิจ

               ฝืดเคืองและการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก (3) กระแสต่อต้านประชานิยมของรัฐบาล คสช. ปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้นประกอบ

               กับ (4) ความพร้อมของหน่วยงานและเครื่องมือที่ใช้ระบุตัวคนจน จึงท าให้เกิดเป็นโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐขึ้น
               โดยรายละเอียดของปัจจัยต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้


                   3.4.1 ประสิทธิภาพของการใช้จ่ายงบประมาณในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล ้า

                       ก่อนที่โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะเริ่มด าเนินการในปี พ.ศ. 2559 งานศึกษาของปัณณ์ อนันอภิบุตร และ

               คณะ (2556) และปัณณ์ อนันอภิบุตร, วิธีร์ พานิชวงศ์, สุมาพร ศรีสุนทร, ลลิตา ละสอน (2557) ได้ท าการศึกษาแนวคิด
               ที่เรียกว่า Negative Income Tax หรือ “ภาษีติดลบ” ในด้านข้อดีของแนวคิด งบประมาณ ข้อกฎหมาย หน่วยงาน

               รับผิดชอบ ประสบการณ์จากต่างประเทศ พร้อมทั้งคิดหลักเกณฑ์เบื้องต้น และตั้งชื่อนโยบายว่า “เงินโอน แก้จน คน

               ขยัน” ทั้งนี้ งานศึกษาดังกล่าวได้พยายามชี้ให้เห็นถึงข้อดี ความส าคัญของนโยบาย และความเหมาะสมของการน า
               นโยบายมาใช้ในหลายประเด็น ดังต่อไปนี้

                        ประเด็นแรก คือข้อดีของนโยบาย Negative Income Tax ในทางทฤษฎี กล่าวคือนโยบาย “ภาษีติดลบ”

               เป็นแนวคิดในการจัดสรรภาษีจัดเก็บ (Positive Income Tax) ไปสู่ผู้มีรายได้น้อยโดยตรงผ่านกระบวนการยื่นภาษี
               บุคคลธรรมดา หากผู้ใดมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่รัฐบาลก าหนดแทนที่จะต้องเสียภาษีจะได้รับการเงินช่วยเหลือเป็นลักษณะ

               เงินโอนกลับไป ซึ่งเป็นการเจาะจงไปยังผู้มีรายได้น้อยอย่างแท้จริง (Targeting for the Poor) เงินสดยังมีสภาพคล่อง

               ส าหรับผู้รับมากกว่าการใช้ความช่วยเหลือแบบการให้เป็นของหรือแบบอื่น ๆ (In-kind) นอกจากนั้น การก าหนดสูตร
               ค านวณแบบแน่นอนว่าใครจะต้องได้รับเงินโอนเท่าไร ยังเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้วิจารณญาณของเจ้าหน้าที่รัฐที่อาจมี

               ความเอนเอียงได้ ซึ่งเป็นการป้องกันปัญหาคอร์รัปชันไปในตัว

                       แม้ว่าแนวคิดภาษีติดลบจะไม่ได้น ามาใช้ปฏิบัติจริง แต่ภายใต้โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีการทดลองโอน
               เงินสดให้กับผู้มาลงทะเบียนในปี พ.ศ. 2559 โดยโอนให้ 3,000 บาทส าหรับผู้มีรายได้ต่ ากว่า 30,000 บาท และ 1,500

               บาทส าหรับผู้มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาท แต่ต่ ากว่า 100,000 บาท (ตามรายได้ของผู้มาลงทะเบียนในปี พ.ศ. 2558)

               ซึ่งรูปแบบการโอนเงินสดนี้เหมือนกับนโยบายภาษีติดลบ เกณฑ์ในการก าหนดช่วงรายได้ก็คล้ายคลึงกับงานศึกษาของ
               สศค. ที่แบ่งการจ่ายเงินโอนออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเงินโอนเพิ่มขึ้น (phase-in) คือช่วงที่เงินโอนจะเพิ่มขึ้นตามรายได้

               ของผู้มีสิทธิรับเงินโอน ซึ่งเพิ่มขึ้นไปจนกว่าผู้มีสิทธิรับเงินโอนมีรายได้ 30,000 บาทต่อปี หรือ ณ ระดับเส้นความยากจน

                                                               60
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74