Page 17 - kpiebook62010
P. 17

10






                     กล่าวโดยสรุปได้ว่า มุมมองนี้แม้จะมองว่าสัตว์นั้นไม่มีสิทธิหรือสถานะตามกฎหมายเป็นของตัวเอง

               แต่มนุษย์ก็ยังมีหน้าที่ทางศีลธรรมที่จะไม่กระทำการทารุณกรรมต่อสัตว์ เพราะเท่ากับเป็นการรักษาศีลธรรมของ
               มนุษย์เอง เนื่องจากการทารุณกรรมต่อสัตว์อาจจะทำให้บุคคลที่ทรมานสัตว์เหล่านั้นไปกระทำการเช่นนั้นกับมนุษย์
               ด้วยกันก็ได้ โดยแนวคิดนี้มองว่า ผลประโยชน์ของสัตว์นั้นเกี่ยวพันกับมนุษย์ในแง่ที่มนุษย์จะต้องรับผิดชอบต่อสัตว์

               ในระดับหนึ่ง เนื่องจากสัตว์มีสถานะทางศีลธรรมเพราะสัตว์สามารถมีความพึงพอใจหรือทุกข์ และมีสภาวะทางจิต
               อื่นๆ เช่นเดียวกับมนุษย์ อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่า ตามแนวความคิดนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างท่าทีของ
               มนุษย์ที่มีต่อสัตว์ โดยท่าทีหนึ่งเห็นว่ามนุษย์สามารถใช้ประโยชน์จากสัตว์ได้ (เป็นการมองว่ามนุษย์อยู่เหนือกว่า

               สัตว์) ในขณะที่อีกท่าทีหนึ่งเห็นว่ามนุษย์ควรปกป้องคุ้มครองสัตว์ให้ความรักความห่วงใยและดูแลเอาใจใส่สัตว์นั้น
                   8
               ด้วย

                     แนวความคิดที่ว่า แม้ในมุมมองของมนุษย์จะเห็นว่าสัตว์อาจจะไม่มีสิทธิเทียบเท่ามนุษย์ แต่อย่างไรก็ตาม
               มนุษย์ก็มีหน้าที่ทางศีลธรรมที่จะต้องปฏิบัติต่อสัตว์ให้ดีและไม่ทารุณกรรมต่อสัตว์ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับแนวคิด
               ทางศาสนาด้วย


                     อำนาจ ยอดทอง ได้เปรียบเทียบแนวความคิดเรื่องสิทธิของสัตว์แบบตะวันตกเข้ากับหลักเบญจศีลของไทย

               ว่า หลักเบญจศีลในพระพุทธศาสนาเถรวาทที่สนับสนุนแนวความคิดนี้ ได้แก่ สิกขาบทที่หนึ่ง ปาณาติปาตา เวรมณี
               เจตนางดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ซึ่งมีหลักเกณฑ์สำคัญ 3 ประการ คือ ขอบเขตของสัตว์มีชีวิต (ปาณะ)
               ที่ได้รับการคุ้มครองในสิกขาบทนี้คือมนุษย์และสัตว์เดรัจฉานทุกชนิด เจตนารมณ์ของสิกขาบทนี้ถือเอาธรรมชาติ
               ของสัตว์มีชีวิตทุกชนิด ซึ่งรักชีวิต รักสุขเกลียดทุกข์ ไม่ต้องการให้ใครมาทำลายชีวิตตน โทษในแง่ศีลถือว่า การฆ่า

               สัตว์ทุกชนิดไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เดรัจฮาน ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ย่อมมีโทษสถานเดียวคือศีลขาด ส่วนเบญจธรรม
               ที่สนับสนุนสิทธิสัตว์คือ เมตตา (ความปรารถนาดีต่อมนุษย์และสัตว์) และกรุณา (ความสงสาร ปรารถนาให้มนุษย์

               และสัตว์หลุดพ้นจากความทุกข์) 9

                     ส่วนแนวคิดจริยธรรมต่อสัตว์ในศาสนาอิสลาม อับดุลวาฮิด บุชดัก ก็อธิบายว่า สถานภาพของสัตว์ที่ถือว่า

               เป็นประชาชาติที่ถูกบันทึกไว้ในอัลกุรอานตามนัยยะแห่งโองการที่ว่า “ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ชนิดใดที่อยู่บนโลก หรือ
               สัตว์ปีกที่บินด้วยกับสองปีกของมัน ต่างก็เป็นประชาชาติเยี่ยงเดียวกับประชาชาติของสูเจ้าทั้งหลาย” สัตว์
               ได้รับสิทธิและความเมตตาในฐานะที่เป็นสิ่งถูกสร้าง (มัคลูก) ของอัลลอฮฺ บนพื้นพิภพ โดยที่สัตว์ทุกประเภท
               ที่มีชีวิตทั้งหมดต่างมีระบบการมีชีวิตที่เป็นประชาชาติ โดยศาสดามูฮัมมัดได้สั่งเสียให้ประชาชาติของท่าน

               มีคุณธรรมในการปฏิบัติต่อสัตว์ แม้กระทั่งในช่วงเวลาที่จะนำสัตว์ดังกล่าวไปสู่การสูญเสียชีวิต (ในขณะที่จะเชือด)
               โดยที่ท่านศาสดามูฮัมมัดได้กล่าวไว้ว่า “แท้จริงแล้วพระองค์อัลลอฮได้บันทึกคุณธรรมความเมตตาไว้กับทุกๆ สิ่ง

               ดังนั้นเมื่อสูเจ้าทั้งหลายจะสังหาร (ชีวิต) ก็จงสังหารด้วยกับคุณธรรม (ไม่ทรมาน) และเมื่อสูเจ้าทั้งหลาย
               ต้องการที่จะเชือดสัตว์ ก็จงมีคุณธรรมในการเชือดสัตว์ (ไม่ทรมาน) เมื่อผู้หนึ่งผู้ใดจากสูเจ้าต้องการที่เชือด



               
      8   ธันวรัตน์ โรจนโรวรรณ. อ้างแล้ว. หน้า 67 - 68
               
      9   อำนาจ ยอดทอง. แนวคิดว่าด้วยสิทธิสัตว์ในเบญจศีล – เบญจธรรม. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2559, สืบค้นจาก : http://
               www.undv.org/vesak2012/thaipdf/011.pdf









                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22