Page 18 - kpiebook62010
P. 18
11
สัตว์ ก็จงลับมีดให้คมและให้สัตว์ได้ผ่อนคลาย” อย่างไรก็ตามในศาสนาอิสลามนั้นก็อนุมัติให้ฆ่าหรือกำจัดได้
หากว่าสัตว์ดังกล่าวทำอันตรายต่อมนุษย์ในบางครั้งบางคราว 10
ในคริสตศาสนานั้น มาร์กิต ลิฟวิงส์ตัน (Margit Livingston) ได้กล่าวถึงพัฒนาการแนวคิดของการคุ้มครอง
สัตว์ที่เปลี่ยนไปในช่วงศตวรรษที่ 17 ว่า ได้มีการตีความคัมภีร์ทางศาสนาแตกต่างไปจากยุคก่อน สามประการ
โดยประการแรก คัมภีร์ไบเบิลได้สนับสนุนให้มนุษย์ปฏิบัติต่อสัตว์ด้วยความเมตตากรุณาจากข้อความในคัมภีร์ที่
12: 10 ที่ว่า มนุษย์มีความชอบธรรมในชีวิตของสัตว์ แต่การกระทำอันโหดร้ายชั่วช้าไม่เมตตากรุณาปราณีเป็นการ
ทารุณอำมหิต และปรากฏในข้อความอื่นๆทำนองเดียวกันนี้ ประการที่สอง เห็นว่า พระเจ้ารักสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้น
มาทั้งปวง ซึ่งรวมไปถึงสัตว์ด้วย และทรงมอบความรู้สึกและความสามารถในการหยั่งรู้ความสุขและประสบการณ์
ให้แก่สัตว์ด้วย มนุษย์จึงควรจะปฏิบัติต่อสัตว์ด้วยความเมตาและเอาใจใส่ การทำนอกเหนือจากนี้ถือเป็นการฝ่าฝืน
ต่อเจตจำนงแห่งพระเจ้า และข้อสุดท้าย เห็นว่าการทารุณสัตว์ที่ไม่มีเหตุผลนำไปสู่การกระทำทารุณต่อมนุษย์ได้
เพราะชาวคริสต์ที่ดีถูกสอนให้รักเพื่อนบ้านและปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีความเมตตากรุณา ดังนั้น
ชาวคริสต์คนใดทารุณสัตว์ก็ถือเป็นการฝ่าฝืนคำสอนของพระเจ้าโดยตรง การปฏิบัติต่อสัตว์อย่างกรุณาจะเป็น
สิ่งหนึ่งที่พัฒนาคนๆ หนึ่งให้มีแรงกระตุ้นในการคำนึงถึงเพื่อนมนุษย์คนอื่นด้วยความรักและเมตตากรุณา อย่างไรก็ดี
แนวคิดนี้ยังคงไม่เห็นด้วยว่า สัตว์มีความเสมอภาคกับมนุษย์ มีสิทธิเช่นเดียวกับมนุษย์ แต่ให้ความสำคัญต่อ
ความรับผิดชอบแก่สัตว์ที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ 11
(3) แนวคิดว่าผลประโยชน์ของสัตว์แยกจากผลประโยชน์ของมนุษย์แต่ผลประโยชน์ของ
สัตว์นั้นเท่าเทียมกับผลประโยชน์ของมนุษย์
เป็นแนวคิดที่มาจากกระแสความคิดทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ที่มองว่าโลกมีระบบระเบียบ มีแบบแผนใน
ตัวเองที่มนุษย์ควรพยายามที่จะเข้าใจ ให้ความเคารพ และปกป้องรักษาสิ่งต่างๆ นักปรัชญาหลายคนเริ่มเห็นและ
ตระหนักถึงความเป็นไปได้และความถูกต้องของการขยายอาณาจักรศีลธรรมให้ครอบคลุมไปถึงสัตว์โดยอ้าง
ความสามารถในการรู้สึกเจ็บปวด สุข ทุกข์ ว่าเป็นลักษณะที่บ่งบอกถึงความสำคัญทางศีลธรรมของมนุษย์และสัตว์
เช่น ในกลุ่มเอปปิคิวเรียน (Epicurean) หรือนักปรัชญาสำนักประโยชน์นิยม โดยนักปรัชญาสมัยใหม่หลายคนเห็น
ว่า สัตว์แม้จะมีคุณค่าแตกต่างจากมนุษย์ แต่ก็สมควรได้รับความคุ้มครอง
แนวคิดนี้พัฒนาไปถึงระดับที่มองว่าสัตว์ควรมีสิทธิ และมนุษย์ควรมีหน้าที่ต่อสัตว์ เช่น เจอเรมี เบนธัม
(Jeremy Bentham) เห็นว่า สัตว์เหมือนมนุษย์ที่มีสิทธิปลอดจากการได้รับความทุกข์ทรมานโดยไม่จำเป็น
โดยมองว่าสัตว์มีความรู้สึก มีความสามารถในการรับรู้ความกดดันและความเจ็บปวดได้ และด้วยเหตุนี้เอง
ที่การทำร้ายหรือทารุณสัตว์ที่อยู่ในความครอบครองของมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรมอย่างแน่นอน ข้อถกเถียง
10 อับดุลวาฮิด บุชดัก แปลและเรียบเรียง โดย อ.มุหำหมัด บินต่วน. สิทธิของสัตว์ในอิสลาม. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2559,
สืบค้นจาก : http://www.islammore.com/view/3395
11 Magrit Livingston. “Desecrating the Ark : Animal Abuse and the Law’s Role The University of Iowa Law
Review. P 11-12 อ้างถึงใน ธันวรัตน์ โรจนโรวรรณ. มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการทารุณสัตว์. (2551) กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน้า 64
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557