Page 21 - kpiebook62010
P. 21

14






                             ดังที่มีผู้เห็นว่าการกำหนดความผิดฐานทารุณกรรมต่อสัตว์ไว้ในประมวลกฎหมายอาญาก็ดี หรือ

               แม้แต่ในพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ก็ตามนั้น เป็นไปเพื่อ
               การคุ้มครอง “ศีลธรรม” ของตัวมนุษย์เอง โดยไม่ถือว่าสัตว์เป็นผู้ทรงสิทธิหรือเป็นผู้ได้รับความคุ้มครองโดยตรง
               สุนทร มณีสวัสดิ์ ให้ความเห็นว่าตามหลักกฎหมายนั้นไม่ถือว่าสัตว์เป็นประธานแห่งสิทธิ แต่สิ่งที่กฎหมายมุ่งจะ

               คุ้มครองนั้น ก็คือศีลธรรมของสังคม ว่าในฐานะมนุษย์นั้นควรจะมีศีลธรรมตามสมควร ไม่ควรไปกระทำทารุณกรรม
               ต่อสัตว์ หรือแม้จะสามารถบริโภคสัตว์ได้ ก็ไม่ควรที่จะใช้วิธีฆ่าที่ทำให้สัตว์ได้รับความเจ็บปวดทรมานโดยไม่จำเป็น
               หรือจะใช้สัตว์ทำการงานก็ไม่ควรใช้งานจนเกินกำลัง หรือไม่ควรใช้งานสัตว์ที่เจ็บป่วย ซึ่งเป็นสิ่งพึงปฏิบัติสำหรับ

               ผู้ที่มีศีลธรรมตามสมควร 19

                             ซึ่งสอดคล้องกับที่ ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ ได้จัดหมวดหมู่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

               มาตรา 381 กระทำทารุณต่อสัตว์ หรือฆ่าสัตว์ให้ได้รับทุกขเวทนาอันไม่จำเป็น ไว้ในส่วนของความผิดเกี่ยวกับ
               ศีลธรรมอันดี โดยให้เหตุผลว่า มาตรานี้ไม่ใช่มีขึ้นเพื่อ “คุ้มครองสัตว์” แต่เพื่อให้คนมีความ “เมตตาสัตว์”
               โดยไม่ทำทารุณดังกล่าวแก่สัตว์ เช่นเอาหมีมาเลี้ยงเวลาคนจะกิน “อุ้งตีนหมี” ก็มาตัดไปทีละข้าง เอาไฟฟ้าช็อต

               หมูเพื่อจะได้ไม่อยู่นิ่ง เวลาเอาไปทำอาหารจะได้มีรสชาติเหมือนหมูป่าหรือควักลูกนัยน์ตาแมวเป็นๆ เพื่อเอา
               “เพชรตาแมว” ตามความเชื่องมงายเป็นต้น ส่วนการฆ่าสัตว์โดยมให้ได้รับทุกขเวทนาอันไม่จำเป็น ได้แก่ การทำให้
               สัตว์ได้รับความเจ็บปวดก่อนตายโดยไม่จำเป็น เช่น จับเต่ามาไต่ไม้เหนือหม้อน้ำต้มเดือด ตัวไหนตกลงไปก็ตาย

               ตัวไหนเดินผ่านไปได้ก็จับมาเดินใหม่จนกว่าจะตกลงไป หรือการขึงงูแล้วเอามีดกรีดท้องขณะงูยังเป็นๆ เพื่อเอา
               เลือดมาดื่มสดๆ เอาลิงเป็นๆ มาเจาะหัวเพื่อกินสมองลิงสดๆ เป็นต้น การทดลองทางวิทยาศาสตร์แม้โดยทั่วไป
               จะไม่ถือว่าเป็นความผิดตามมาตรานี้ก็ตาม แต่ในบางกรณีก็เป็นการทารุณต่อสัตว์เช่นกัน ถ้าทำโดยไม่จำเป็นต่อ

               การทดลอง การวินิจฉัยจึงขึ้นอยู่กับระดับศีลธรรมของมนุษย์ว่ากรณีใดควรเป็นการทารุณหรือไม่  เช่นเดียวกับ
                                                                                              20
               ความเห็นของ คณิต ณ นคร ที่มองว่า ความผิดฐานกระทำทารุณต่อสัตว์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 381
               และความผิดฐานใช้ให้สัตว์ทำงานจนเกินสมควร มาตรา 382 นั้น คุณธรรมทางกฎหมาย (Rechtsgut / Legal

               interest) ของความผิดทั้งสองฐานนี้ คือ “ความมีเมตตาต่อสัตว์” 21

                     2.2.3  สัตว์ในฐานะของสิ่งมีชีวิตที่พึงได้รับความคุ้มครอง


                             ระดับต่อมาของมุมมองทางกฎหมายที่มีต่อสัตว์นั้น คือการมองว่าสัตว์นั้นมีสถานะบางประการ
               ตามกฎหมายที่พึงได้รับความคุ้มครอง ไม่ใช่เพียงในสถานะของทรัพย์สินอย่างหนึ่งของมนุษย์ และก็ไม่ใช่เพียง
               การห้ามการกระทำทารุณกรรมต่อสัตว์เพียงเพื่อจะรักษาระดับศีลธรรมของมนุษย์เท่านั้น แต่เป็นการมองว่าสัตว์

               มีคุณค่าในตัวเองในฐานะของสิ่งมีชีวิตอย่างหนึ่งที่พึงได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เช่น ในปี 2015 มีการแก้ไข
               เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งของฝรั่งเศส ถือว่าสัตว์นั้นเป็นทรัพย์สินประเภทพิเศษ ไม่ใช่เพียงสังหาริมทรัพย์
               แต่ถือว่าสัตว์นั้นเป็น “สิ่งมีชีวิตที่มีการรับรู้ในเชิงความรู้สึก” อย่างไรก็ตาม ภายใต้บังคับกฎหมายที่คุ้มครองนั้น


               
     19   สุนทร มณีสวัสดิ์. การทารุณสัตว์. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 2559, สืบค้นจาก : http://law.nida.ac.th/main/images/Film-
               Kittinun/Tarunsat.pdf
               
     20   ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคความผิดและลหุโทษ. (2552) (กรุงเทพฯ : วิญญูชน) หน้า 419
               
     21   คณิต ณ นคร. กฎหมายอาญา ภาคความผิด. (2553) (กรุงเทพฯ : วิญญูชน) หน้า 471 - 472









                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26