Page 100 - kpiebook62010
P. 100

93






               ตาย และส่วนที่สองที่ถือว่าเป็นการกระทำที่ให้ถือเป็นการทารุณกรรมต่อสัตว์โดยผลของกฎหมายซึ่งมีอยู่

               สามประการ ได้แก่

                             (1) การใช้สัตว์พิการ สัตว์เจ็บป่วย สัตว์ชราหรือสัตว์ที่กำลังตั้งท้องเพื่อแสวงหาประโยชน์


                             (2) ใช้สัตว์ประกอบกามกิจ และ


                             (3) ใช้สัตว์ทำงานจนเกินสมควรหรือใช้ให้ทำงานอันไม่สมควรเพราะเหตุที่สัตว์นั้นเจ็บป่วย ชรา
               หรืออ่อนอายุ


                     
       ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช ให้ความเห็นว่า คำจำกัดความของคำว่า การทารุณกรรมสัตว์ หมายถึง
               “การกระทำ หรืองดเว้นการกระทำใดๆ ที่ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน ความเจ็บปวดทุพลภาพ หรือ

               อาจมีผลทำให้สัตว์นั้นตาย” นั้นมีลักษณะกว้างเป็นนามธรรมไม่ค่อยเป็นรูปธรรมเมื่อเทียบกับร่างของสมาคม
               พิทักษ์สัตว์ไทยซึ่งมีการระบุประเภทลักษณะการกระทำที่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ เช่น เฆี่ยน ทุบตี ฟันแทง
               เผา ลวก หรือกระทำการอย่างอื่นอันมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ให้สัตว์เจ็บปวด เก็บหรือกักขังสัตว์ในที่คับแคบให้สัตว์

               ได้รับความทุกข์ทรมาน พันธนาการสัตว์เป็นเวลานานเกินความจำเป็น หรือด้วยเครื่องพันธนาการที่หนักหรือสั้น
               หรือเล็กเกินไปจนสัตว์ต้องได้รับความทุกข์ทรมาน ซึ่งการที่มีลักษณะประเภทของการทารุณกรรมสัตว์ที่เป็น
               รูปธรรมนั้นอย่างน้อยก็ช่วยศาลในการพิจารณาว่าการกระทำใดเข้าข่ายเป็นการกระทำทารุณกรรมสัตว์หรือไม่และ

               ในขณะเดียวกันประชาชนก็พอจะเห็นภาพว่าอย่างไรจึงจะเข้าข่ายเป็นการกระทำทารุณกรรมสัตว์ ประชาชนจะได้
               หลีกเลี่ยงการกระทำนั้นเสีย 2


                             ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของศุทธินี อยู่สวัสดิ์ ที่ศึกษาปัญหาการตีความกฎหมายป้องกัน
               การทารุณกรรมสัตว์เปรียบเทียบกฎหมายไทยและอังกฤษ แล้วเห็นว่า ความหมายของการทารุณกรรมสัตว์ตาม
               พระราชบัญญัติดังกล่าวค่อนข้างจะกว้าง จึงอาจจะเป็นปัญหาในการพิจารณาตีความและการปรับใช้กฎหมาย

               ดังกล่าวได้โดยเฉพาะข้อความที่ว่า การกระทำหรืองดเว้นการกระทำใดๆ ที่ทำให้สัตว์ได้รับ ความทุกข์ทรมานไม่ว่า
               ทางร่างกายหรือจิตใจ ได้รับความเจ็บปวดความเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ที่ต้องพิจารณาตามประเภทชนิด ลักษณะ
               ของสัตว์ตัวนั้นๆ ประกอบกับความทุกข์ทรมานทางจิตใจนั้นยากที่จะพิสูจน์ได้ รวมถึงที่ มาตรา 20 วางหลักว่า

               ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งคำว่าไม่มีเหตุผลอันสมควรนั้น
               เป็นถ้อยคำที่กว้างมากและมีลักษณะเป็นการพิจาณาในทางอัตวิสัย (Subjective Test) เมื่อเปรียบเทียบกับ
               กฎหมาย Animal Welfare Act 2006 ของอังกฤษซึ่งแม้จะใช้ถ้อยคำว่า การทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุ

               อันสมควร (Unnecessary Suffering) เช่นกันหากแต่มีการขยายความเพื่ออธิบายถ้อยคำดังกล่าวด้วยเพื่อมิให้
               กฎหมายมีลักษณะเป็นอัตวิสัยมากเกินไปกล่าวคือ นิยามของการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควรตาม
               กฎหมายของอังกฤษนั้น คือ การที่ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นเหตุให้สัตว์ที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนี้ ได้รับ

               ความทุกข์ทรมาน โดยผู้นั้นรู้หรือควรรู้ว่าการกระทำเช่นนั้นจะทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน ถือว่าการ



               
      2   ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช. ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันทารุณกรรมสัตว์: เครื่องมือจำเป็นในการคุ้มครองชีวิตสัตว์. ประชาไท.
               สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2559, สืบค้นจาก : http://prachatai.com/journal/2013/07/47841








                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105