Page 101 - kpiebook62010
P. 101
94
ทารุณกรรมสัตว์เช่นว่านี้ไม่มีเหตุอันสมควรนอกจากนั้นตามกฎหมายของอังกฤษยังจัดการกระทำที่ถือว่าเป็นการ
ทารุณกรรมสัตว์(Prevention of harm) ไว้ 4 ประการ เพื่อง่ายต่อการแยกพิจารณาและลงโทษ ได้แก่ (1) การตัด
หรือขลิบอวัยวะสัตว์ (Mutilation) (2) การตัดหางสุนัข (Docking of dogs’ tails) (3) การวางยาพิษสัตว์
(Administration of poisons etc.) และ (4) การต่อสู้สัตว์ (Fighting etc.) 3
เช่นเดียวกับข้อสังเกตของ ศรัญญา แจ้งขำ ที่เห็นว่าขอบเขตของการกระทำที่ถือเป็นการ
ทารุณกรรมต่อสัตว์จะมีอยู่เช่นไรนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับทัศนคติ มุมมองทางศีลธรรม จริยธรรม ศาสนา ของแต่ละคน
ในสังคม เราอาจพบว่าในการกระทำบางอย่างต่อสัตว์ สังคมหนึ่งอาจเห็นว่าเป็นการทารุณสัตว์ฯ ที่สังคมอื่นอาจ
เห็นว่าไม่เป็นการทารุณสัตว์ ซึ่งแม้ว่าตามกฎหมายของไทยจะบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณ
กรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งเป็นหลักสากลที่ได้รับการยอมรับ แต่สำหรับสังคมไทยส่วนใหญ่ยังขาดความรู้
ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ตามมาตรฐานสากล เมื่อมี
การทารุณกรรมสัตว์เกิดขึ้นก็จะใช้ดุลยพินิจในการวินิจฉัยหรือการตีความเพื่อนำผู้กระทำผิดมาลงโทษซึ่งขาด
ความชัดเจนในทางปฏิบัติ ดังนั้นเมื่อมีการกระทำทารุณกรรมสัตว์ ด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งถือเป็นการทารุณกรรม
ต่อสัตว์ตามมาตรฐานสากล จึงควรกำหนดหลักเกณฑ์ว่าการกระทำใดเป็นการกระทำที่เป็นการทารุณกรรมสัตว์
เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการทารุณกรรมต่อสัตว์ อย่างไร
ก็ตาม ศรัญญาก็ยังเห็นว่า การกำหนดว่าการกระทำใดที่เป็นการทารุณกรรม ควรคำนึงถึงความคุ้มครองมนุษย์มาก
กว่าคุ้มครองสัตว์ เพราะการกระทำบางอย่างเป็นการกระทำที่เป็นวิถีและวัฒนธรรมประเพณีของประชาชน เช่น
วัฒนธรรมการบริโภคสัตว์บางชนิดที่อาจจะแตกต่างกัน 4
นอกจากนี้ ภาคประชาชนนำโดยนางสาวปิยะวรรณ ตั้งสกุลสถาพร ในนามกลุ่มคนรักสัตว์
เคลื่อนไหวก่อตั้งโครงการ A Call for Animal Rights Thailand ได้รณรงค์ล่ารายชื่อประชาชนผ่าน
www.change.org/protectanimals เพื่อผลักดันข้อเสนอของภาคประชาชนต่อการคุ้มครองสัตว์ ได้เคยยื่น
ข้อเสนอ 20 ข้อเกี่ยวกับการกำหนดนิยามคำว่า “ทารุณกรรมสัตว์” ให้ครอบคลุมเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ป้องกัน
และการทารุณกรรมสัตว์ พร้อมรายชื่อประชาชนจำนวน 60,000 รายชื่อที่สนับสนุนข้อเสนอดังกล่าวต่อรัฐสภา
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2557 โดยให้เหตุผลว่า กลุ่มคนรักสัตว์ต้องการกฎหมายที่จัดการคนกระทำผิดได้อย่างรัดกุม
เด็ดขาด และเป็นกฎหมายที่เข้มแข็งน่าเกรงขาม โดยเฉพาะร่างมาตรา 17 ที่ระบุเพียงสั้นๆ ว่า “ห้ามมิให้ผู้ใด
กระทำการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร” นั้นมีเนื้อหากว้างๆ นอกจากนี้ร่างดังกล่าวยังมีข้อบกพร่อง
จำนวนมาก เช่น ไม่รวมสัตว์ป่าที่ถูกนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง ไม่มีข้อกำหนดห้ามบริโภค และค้าเนื้อหนังสุนัขและแมว
และไม่มีการระบุเรื่องข้อห้ามการทารุณกรรมสัตว์ที่ชัดเจน
ข้อเสนอในการแก้ไขเพิ่มเติมร่างมาตรา 17 ดังกล่าว ได้แก่ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการทารุณกรรม
สัตว์และการกระทำดังต่อไปนี้ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ทั้งสิ้น
3 ศุทธินี อยู่สวัสดิ์. ปัญหาการตีความกฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและอังกฤษ.
วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนรศวร ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 พ.ย. 58 หน้า 7 - 24
4 ศรัญญา แจ้งขำ. ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์. (2557) กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ หน้า 134 - 136
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557