Page 96 - kpiebook62016
P. 96

79







                       บทบาทของสถาบันและตัวแสดงทางการเมือง

                              ปรากฏการณ์ที่สะท้อนบทบาทของสถาบันและตัวแสดงทางการเมือง และฉายภาพพลวัตของ

                       ระบบการเมืองอินโดนีเซียภายหลังการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยได้เด่นชัด เกิดขึ้นเมื่อสภา

                       ผู้แทนราษฎรมีมติเริ่มกระบวนการถอดถอนประธานาธิบดีวาหิต โดยกล่าวว่ารัฐบาลล้มเหลวในการ
                                                                                    227
                       จัดการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการทุจริต รวมถึงปัญหาแบ่งแยกดินแดน  ประธานาธิบดีวาหิตเจรจา
                       ขอปรับคณะรัฐมนตรีใหม่ โดยจะจัดสรรต าแหน่งรัฐมนตรีให้แก่พรรค Indonesian Democratic Party

                       of  Struggle (PDI-P)  มากขึ้น และสัญญาจะมอบความรับผิดชอบในการบริหารให้แก่นางเมกาวาตี

                       หัวหน้าพรรค ซึ่งด ารงต าแหน่งรองประธานาธิบดีในขณะนั้น พร้อมกันนี้ประธานาธิบดีวาหิตยังขู่จะ
                       ประกาศกฎอัยการศึกและจะให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นก่อนก าหนดหาก

                       ประนีประนอมไม่ส าเร็จ แต่ข้อเสนอของประธานาธิบดีวาหิตถูกปฏิเสธ นอกจากนี้ ค าขู่ที่ว่าจะประกาศ

                       กฎอัยการศึกต้องสูญเสียน ้าหนักไปเมื่อพลเอกเอ็นดริอาโทโน่ ซูตาร์โต (Endriartono  Sutarto)

                                                                       228
                       ผู้บัญชาการทหารบก ประกาศไม่สนับสนุนกฎอัยการศึก  ในที่สุด สมัชชาที่ปรึกษาประชาชนจึงได้มี
                       มติถอดถอนประธานาธิบดีวาหิต และรองประธานาธิบดีเมกาวาตีได้เข้ารับต าแหน่งแทน


                              จะเห็นว่า การจัดโครงสร้างระบบการเมืองภายหลังการปฏิรูปการเมือง ส่งผลให้พลังอ านาจที่
                       เคยรวมศูนย์ที่ฝ่ายบริหารลดลง และเกิดดุลอ านาจระหว่างสถาบัน และผู้เล่นทางการเมืองที่

                       หลากหลายขึ้น



                              สถาบันทางการเมืองที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาใหม่และแสดงบทบาทส าคัญในระบบการเมืองใน
                       ยุคเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย คือ องค์กรอิสระต่างๆ เช่น คณะกรรมการปราบปรามอาชญากรรม
                       การทุจริต (Commission to Eradicate the Crime of Corruption - KPK) ที่จัดตั้งใน ค.ศ. 2002 และ

                       ได้รับอ านาจอย่างกว้างขวาง ได้แก่ อ านาจในการสืบสวนหน่วยงานอื่น อ านาจในการดักฟังโทรศัพท์

                       อายัดทรัพย์สิน อ านาจในการห้ามเดินทางออกนอกประเทศ และการเรียกดูข้อมูลทางการเงินจาก

                       สถาบันทางการเงิน เป็นต้น  คณะกรรมการปราบปรามอาชญากรรมการทุจริต ประกอบด้วยสมาชิก

                       จ านวน 5 คน โดยคณะกรรมการคัดเลือก ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ต ารวจ อัยการ นักกฎหมายเอกชน
                       และนักนิติศาสตร์ เสนอชื่อผู้สมัคร 10 ชื่อไปยังสภาผู้แทนราษฎรเพื่อรับการซักถามถึงความเหมาะสม



                       227
                         Amy L. Freedman, op. cit., p. 204.
                       228  Damien Kingsbury, op. cit., p. 270.
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101