Page 251 - kpiebook62016
P. 251
234
ปัจจัยเชิงสถาบันการเมืองเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย: แง่คิดส าหรับประเทศไทย
ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นคือ การเปลี่ยนผ่านจากระบอบอ านาจนิยมไปสู่ระบอบประชาธิปไตยเป็น
กระบวนการที่ยาก เต็มไปด้วยอุปสรรค และใช้เวลา กระบวนการเปลี่ยนผ่านให้เป็นประชาธิปไตยของ
ไทย แม้จะเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง แต่ยังไม่เคยประสบความส าเร็จที่จะเรียกได้ว่าเป็นประชาธิปไตยที่
แท้จริง ตั้งมั่น ยั่งยืน หรือเข้าเงื่อนไขที่จะเรียกว่าเป็น “การจรรโลงประชาธิปไตย” การพยายามเปลี่ยน
ผ่านสู่ประชาธิปไตยของไทยที่ได้รับการวิเคราะห์กันมากที่สุด คือเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งมีที่มาจากข้อเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ ในสังคมที่ต้องการเห็น
การปฏิรูปทางการเมืองภายหลังการปะทะกันระหว่างทหารและประชาชนในเหตุการณ์พฤษภาคม
พ.ศ. 2535 รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 ได้วางหลักการอ านาจสูงสุดเป็นของประชาชน รับรองสิทธิเสรีภาพ
กล่าวถึงหลักนิติรัฐ/นิติธรรม และมีระบบเลือกตั้งใหม่ทั้งส าหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ
วุฒิสมาชิก จึงเป็นที่คาดหวังว่า รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 จะส่งเสริมให้ประเทศไทยพัฒนา
ประชาธิปไตยที่ยั่งยืนได้ส าเร็จ แต่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยไม่เป็นไปตามคาดหวัง ประเทศ
ไทยยังคงวนเวียนอยู่กับความล้มเหลวในการจรรโลงประชาธิปไตย โดยจบลงด้วยการรัฐประหารเมื่อ
วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และล่าสุด การรัฐประหาร ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ในส่วนส่งท้าย จะเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยในเชิงสถาบันการเมืองที่ส่งผลให้ความพยายาม
เปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยและการจรรโลงประชาธิปไตยของไทยไม่ประสบความส าเร็จ ต้อง
ย้อนกลับไปเผชิญการแทรกแซงโดยทหารและระบอบอ านาจนิยม ภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549
และ พ.ศ. 2557 โดยใช้ผลการศึกษาที่ค้นพบในงานนี้เป็นกรอบในการอธิบาย แง่คิดส าหรับประเทศ
ไทยในเชิงบทบาทของสถาบันการเมืองและการออกแบบสถาบันการเมือง เพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่
ประชาธิปไตยแบ่งเป็น 3 ประเด็น ดังมีรายละเอียดดังนี้
1. การไม่มีฉันทามติในรัฐธรรมนูญและกติกาทางการเมือง
จากประสบการณ์เชิงประจักษ์ที่น าเสนอในการศึกษานี้ พบว่าการปฎิรูปรัฐธรรมนูญเป็นหัวใจ
ส าคัญของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ทั้งเนื้อหา กระบวนการ และผู้ร่าง ล้วนเป็น
องค์ประกอบที่มีน ้าหนักของความส าคัญไม่ต่างกัน ประเทศที่สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบ
ประชาธิปไตยได้มีจุดเหมือนร่วมกันคือ กระบวนการปฎิรูปรัฐธรรมนูญ และเนื้อหา กติกาใน
รัฐธรรมนูญเป็นที่ยอมรับของประชาชนและตัวแสดงทางการเมืองทุกกลุ่ม โดยเน้นว่า การปฏิรูป