Page 252 - kpiebook62016
P. 252
235
รัฐธรรมนูญ ไม่จ าเป็นต้องยกเลิกฉบับเก่าและร่างใหม่ทั้งฉบับ หลายประเทศแก้ไขรัฐธรรมนูญระบอบ
อ านาจนิยมเพื่อปูทางสู่ประชาธิปไตยได้ส าเร็จ ถึงแม้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ.
2560 ซึ่งได้รับการร่างขึ้นมาใหม่ จะผ่านการท าประชามติ แต่กระบวนการท าประชามติทั้งสองครั้งก็ถูก
ตั้งค าถามจากสังคมไทยและนานาชาติอย่างมากถึงความโปร่งใส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไม่เปิดให้ทุก
ฝ่ายได้รณรงค์อย่างเสรี เท่าเทียม และการที่ประชาชนอาจไปใช้สิทธิโดยขาดความเข้าใจในเนื้อหาของ
รัฐธรรมนูญ ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาความชอบธรรม การยอมรับและฉันทานุมัติทั้งต่อกระบวนการได้มา
และเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ
ในส่วนของเนื้อหารัฐธรรมนูญนั้น ในทุกการปฏิรูปการเมืองของไทย มีอย่างน้อย 4 ประเด็น
หลักที่ยังไม่สามารถหาฉันทามติที่เห็นพ้องได้จากทุกฝ่าย ได้แก่
1.1 เป้าหมายของระบบเลือกตั้ง ผลการศึกษาพบว่า ประเทศส่วนใหญ่ปฏิรูปการเมืองเพื่อ
ส่งเสริมให้มีการแข่งขันทางการเมืองที่เปิดกว้างมากขึ้น แต่การปฎิรูประบบเลือกตั้งของไทย สลับไปมา
ระหว่างส่งเสริมพรรคใหญ่ และกีดกันพรรคใหญ่ มาตรการส่งเสริมพรรคใหญ่เห็นได้ชัดในรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2540 ที่มีมาตรการกีดกันคนบางกลุ่ม เช่น ระบอบบัณฑิตยาธิปไตย หรือการใช้วุฒิการศึกษามา
ตั้งเป็นเกณฑ์ว่าต้องจบปริญญาตรี จึงจะลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาได้ แต่ภายหลังใน
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้ยกเลิกการบังคับใช้กับผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ยังคงไว้เฉพาะ
สมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น ที่ส าคัญไปกว่านั้น ระบบเลือกตั้งของไทยในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และ 2550
เอื้อให้พรรคการเมืองใหญ่ได้เปรียบ จากการที่พรรคใหญ่ได้รับจัดสรรที่นั่งในสภามากกว่าคะแนนเสียง
ที่พรรคได้รับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดสรรที่นั่งในระบบเขตเลือกตั้ง แบบหนึ่งเขตหนึ่งคน เสียงข้าง
มากธรรมดา (Single-member district) เช่น ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 พรรคไทยรักไทยได้ที่นั่งใน
ระบบเขตมากกว่าคะแนนในระบบเขตทั้งหมดที่พรรคได้รับ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 22 ที่นั่ง ขณะที่
พรรคประชาธิปัตย์ขาดทุนคิดเป็น 7.45 ที่นั่ง ส่วนในระบบบัญชีรายชื่อ ทั้งพรรคไทยรักไทยและ
ประชาธิปัตย์ต่างได้ที่นั่งมากกว่าคะแนนเสียงที่ได้รับ กล่าวคือ ไทยรักไทยได้ 5.83 และประชาธิปัตย์ได้
2.78 มากกว่าคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อที่พรรคได้รับเลือก ความไม่เป็นธรรมดังกล่าวมีชื่อว่า
“ความไม่สมดุลระหว่างคะแนนที่ประชาชนเลือกกับที่นั่งในสภา” (Disproportionality) ประเด็นนี้ส่งผล
โดยตรงต่อมุมมองต่อระบบเลือกตั้งที่เปลี่ยนไปแบบสุดโต่ง