Page 253 - kpiebook62016
P. 253

236







                              รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560  น าเอาระบบจัดสรรปันส่วนผสม (Mixed-member  apportionment)
                       มาใช้ แม้ดูผิวเผินเหมือนจะช่วยลดจุดอ่อนเรื่องความไม่สมดุลระหว่างคะแนนที่ประชาชนเลือกกับที่นั่ง


                       ในสภา แต่ในทางปฎิบัติจะก่อให้เกิดปัญหาเรื่องเจตนารมณ์ของประชาชนถูกเบี่ยงเบน  เพราะเป็น
                       เทคนิคการเลือกตั้งที่มุ่งลดที่นั่งของพรรคการเมืองใหญ่ โดยช่วยให้พรรคขนาดกลางที่ไม่ชนะเลือกตั้ง


                       ในระบบเขต ได้รับจัดสรรที่นั่งในระบบบัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้น เรียกได้ว่าเป็นระบบให้โบนัสแก่พรรคที่แพ้
                       (a  Loser  bonus  system) ในระบบเลือกตั้งนี้ พรรคการเมืองขนาดเล็กจะเสียเปรียบที่สุด เพราะ


                       รัฐธรรมนูญก าหนดว่าต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในระบบเขต จึงจะส่งผู้สมัครในระบบบัญชีรายชื่อได้
                       เมื่อฐานการแข่งขันของพรรคการเมืองอยู่ในระดับเขต 350  เขตทั่วประเทศ แต่พรรคขนาดเล็กไม่มี


                       ทรัพยากรและศักยภาพที่จะส่งผู้สมัครเขตจ านวนมากได้ ดังนั้น ขีดความสามารถในการแข่งขันของ
                       พรรคขนาดเล็กจะลดลง เมื่อไม่มี ส.ส. เขตมากพอที่จะลงสมัครในหลายๆ เขต เพื่อให้ได้คะแนนจาก

                       ส.ส. เขตไปค านวณเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมดนี้ ล้วนบั่นทอนความเป็นสถาบันของพรรคการเมือง

                       ที่เชื่อมโยงกับประชาชนในวงกว้าง และกีดกัน ลดทอนโอกาสพรรคขนาดเล็กที่จะเป็นพรรคทางเลือก

                       ให้สังคมไทยในอนาคต



                              นอกจากการเปลี่ยนระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึงสี่ครั้งในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาแล้ว
                       ระบบเลือกตั้งหรือการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาก็เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน จากที่วุฒิสภามา


                       จากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนทั้งหมดในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาเป็นเลือกตั้งครึ่งหนึ่งสรร
                       หาครึ่งหนึ่ง ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และมาเป็นการแต่งตั้งทั้งหมดในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ


                       พ.ศ. 2560


                              ในประเด็นการเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้ง การศึกษานี้พบว่า ถึงแม้รัฐธรรมนูญยุคปฎิรูป

                       การเมืองของไทย จะยังหาระบบเลือกตั้งที่เหมาะสมลงตัวไม่ได้ แต่ระบบเลือกตั้งอาจไม่ใช่ปัญหาหลัก

                       ดังได้ยกตัวอย่างให้เห็นว่า ประเทศชิลี ยอมทนใช้ระบบเลือกตั้ง Binomial  system  ที่เบี่ยงเบน

                       เจตนารมณ์ของประชาชนโดยให้พรรคอันดับสองมีที่นั่งในสภาเท่ากับหรือใกล้เคียงกับพรรคที่ได้

                       คะแนนเสียงอันดับหนึ่งอยู่นานหลายปี แต่ชิลีก็สามารถจรรโลงประชาธิปไตยจนตั้งมั่นได้ ดังนั้น

                       ประเด็นที่ส าคัญกว่าคือ การที่คนในสังคมไม่หมดศรัทธาในการเลือกตั้ง และยอมรับว่า การเลือกตั้ง
   248   249   250   251   252   253   254   255   256   257   258