Page 30 - kpiebook62016
P. 30

13







                       และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้อค้นพบของการศึกษาน าไปใช้ได้จริง และเข้าถึงสาธารณชนอย่าง
                       กว้างขวาง


                       โครงสร้างการน าเสนอ


                              การศึกษาชิ้นนี้แบ่งออกเป็น 7  บท ประกอบด้วย บทน า กล่าวถึง ความส าคัญและที่มาของ

                       ปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บทที่ 2 ตรวจสอบทฤษฎีที่
                       เกี่ยวข้องกับแนวคิดประชาธิปไตย เริ่มตั้งแต่การศึกษาความหมายและส ารวจทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านสู่

                       ประชาธิปไตยและการจรรโลงประชาธิปไตยให้มั่นคง บทที่ 3 ส ารวจเส้นทางสู่ประชาธิปไตยของกลุ่ม

                       ประเทศที่เคยปกครองด้วยระบอบทหารในเอเชีย (เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย) บทที่ 4 ส ารวจเส้นทางสู่

                       ประชาธิปไตยของประเทศที่เคยปกครองด้วยระบอบทหารในอเมริกาใต้ (ชิลี และอาร์เจนตินา) บทที่ 5
                       ส ารวจเส้นทางสู่ประชาธิปไตยของประเทศที่เคยปกครองด้วยระบอบพรรคการเมืองพรรคเดียวและ

                       ระบอบทหารในทวีปแอฟริกา (ตูนีเซีย และไนจีเรีย) บทที่ 6 ส ารวจเส้นทางสู่ประชาธิปไตยในประเทศที่

                       เคยปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก (ยูเครน และโปแลนด์) โดยทั้ง 4 บท ที่ศึกษา

                       การเปลี่ยนผ่านของ 8 ประเทศดังกล่าว จะเปรียบเทียบทุกประเทศในประเด็น ดังนี้ การโอนคืนอ านาจ

                       ให้ประชาชน การปฏิรูปรัฐธรรมนูญ การออกแบบสถาบันการเมือง วิเคราะห์บทบาทของสถาบันและ
                       ตัวแสดงทางการเมือง บทบาทของกองทัพ การจัดต าแหน่งแห่งที่ให้แก่กองทัพ บทบาทของกลุ่มต่างๆ

                       ในสังคม และทัศนคติต่อระบอบประชาธิปไตย ในบทที่ 7 ซึ่งเป็นบทสรุปส่งท้าย กล่าวถึง บทเรียนจาก

                       การเปลี่ยนผ่านของแต่ละประเทศที่ศึกษา เป็นการประมวลผลการศึกษาและสังเคราะห์ประสบการณ์

                       จาก 8 ประเทศ เพื่อเป็นข้อเสนอแนะต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของไทย
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35