Page 254 - kpiebook62016
P. 254

237







                       เป็นความจ าเป็นเบื้องต้นในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย และเป็นเครื่องมือให้ประชาชนเป็นคน
                       เลือกผู้น าประเทศ



                              การเลือกตั้ง แม้ว่าจะสกปรก ฉ้อฉล คดโกง ขายเสียง มากมายเพียงใด ช่วยให้เกิด
                       ประชาธิปไตยได้ดีกว่าการรัฐประหาร ถึงแม้หลายครั้ง การเลือกตั้งกลายเป็นเครื่องมือในการขึ้นสู่

                       อ านาจ และคงอยู่ในอ านาจของชนชั้นน าอ านาจนิยม แต่ประสบการณ์รอบโลกชี้ว่า การเลือกตั้งช่วย

                       หว่านเมล็ดพันธุ์ประชาธิปไตย ด้วยการสร้างความคาดหวังสาธารณะให้เกิดในสังคมอย่างกว้างขวาง

                       พลังของการเลือกตั้งจะช่วยให้ประชาธิปไตยค่อยๆ งอกงาม และเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดไม่
                       สามารถหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงที่จะน าไปสู่การพัฒนาระบบการเมืองที่ยึดโยงกับประชาชนได้

                       แม้แต่การเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใส ไม่เป็นธรรม และไม่เปิดให้แข่งขันอย่างเสรี อย่างเช่นที่เกิดในระบอบ

                       อ านาจนิยมที่ยอมให้มีการแข่งขัน (Competitive authoritarianism) ก็อาจส่งผลที่คาดเดาไม่ได้ ดังนั้น

                       ถึงแม้ประชาชนกลุ่มหนึ่งจะเบื่อหน่าย ขาดศรัทธา ไม่ไว้วางใจ หรือกลัวพลังของการเลือกตั้ง หรือ

                       แม้แต่การเลือกตั้งอาจไม่น าไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพได้ก็ตาม การจัดให้มีการเลือกตั้ง
                       ประจ าอย่างสม ่าเสมอ ก็ยังดีกว่าการปล่อยให้ไม่มีการเลือกตั้งเลย


                              1.2  ความเข้มแข็งของฝ่ายบริหารและที่มาของนายกรัฐมนตรี เป็นประเด็นส าคัญหนึ่ง

                       ของระบบการเมืองไทยที่ยังหาความเห็นพ้องร่วมกันในสังคมไทยไม่ได้ จะเห็นว่า รัฐธรรมนูญ พ.ศ.

                       2540 ต้องการแก้ปัญหาความไร้เสถียรยภาพของรัฐบาลซึ่งเป็นคุณลักษณะส าคัญของรัฐบาลไทยที่มา

                       จากการเลือกตั้งหลายทศวรรษก่อนหน้านั้น จึงให้อ านาจฝ่ายบริหารค่อนข้างมากในหลายมิติ
                       โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก าหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีคะแนนเสียงถึงสองในห้า (200 คะแนน

                       เสียง) จึงขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้ หรือหนึ่งในห้า  (100 เสียง)  ในการอภิปรายไม่

                       ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล มาตราการนี้เมื่อใช้ร่วมกับระบบเลือกตั้งแบบคู่ขนานระหว่างบัญชี

                       รายชื่อ (Proportional representation) ที่มีเกณฑ์ขั้นต ่าร้อยละ 5 และระบบเลือกตั้งแบบหนึ่งเขต หนึ่ง
                       คน เสียงข้างมากธรรมดา (Single-member  district,  plurality  system)  ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้พรรค

                       การเมืองขนาดใหญ่ ดังได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ โดยในขณะนั้นยังไม่มีมาตรการควบคุมการควบรวม

                       พรรคการเมือง ส่งผลให้ตลอดการใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 นายกรัฐมนตรีซึ่งคุมพรรคการเมืองเสียง

                       ข้างมากในรัฐบาล  ไม่ถูกตรวจสอบตามกระบวนการประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา เนื่องจาก

                       สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ เพราะพรรคฝ่ายค้านรวมกันแล้วมี
   249   250   251   252   253   254   255   256   257   258   259