Page 255 - kpiebook62016
P. 255

238







                       คะแนนเสียงไม่ถึงเกณฑ์ที่ก าหนด การออกแบบรัฐธรรมนูญให้ฝ่ายบริหารเข้มแข็ง (Strong executive)
                       โดยสร้างเกราะไม่ให้ถูกตรวจสอบเช่นนี้ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ท าให้คนในสังคมไม่พอใจ และเรียกร้องให้มี

                       การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จนในที่สุดบานปลายและน าไปสู่การรัฐประหารใน พ.ศ. 2549  ส่วนใน

                       รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550  และ 2560  ปรากฏชัดเจนมากในบทบัญญัติต่างๆ ว่าไม่ต้องการได้รัฐบาลที่

                       เข้มแข็ง แต่ผลข้างเคียงที่ตามมาคือ ท าให้ระบบการเมืองอ่อนแอ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสังคมและเศรษฐกิจ
                       ของคนในประเทศ และแน่นอนว่า ระบบการเมืองที่อ่อนแอย่อมไม่มีพลังขับเคลื่อนให้สามารถเปลี่ยน

                       ผ่านไปสู่ประชาธิปไตยได้


                              ในประเด็นว่านายกรัฐมนตรีจ าเป็นต้องมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ ดูเหมือนยังไม่มีข้อยุติ

                       รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560  ได้เปิดช่องให้นายกรัฐมนตรีอาจไม่จ าเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

                       โดยให้พรรคเสนอรายชื่อผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ 3 คน เท่ากับเปิดโอกาสให้มีนายกรัฐมนตรีที่ไม่
                       ได้มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งคนที่พรรคเสนอชื่ออาจไม่ใช่คนที่ประชาชนชอบ ส่งผลให้เสียงของประชาชน

                       ไร้ความหมาย  เมื่อคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนมีโอกาสที่จะไม่ส่งผลอย่างแท้จริงในการจัดตั้ง

                       รัฐบาล เปิดช่องให้เจตนารมณ์ของประชาชนถูกน าไปกล่าวอ้างบิดเบือน ความรู้สึกมีประสิทธิภาพทาง

                       การเมือง (Political  efficacy หมายถึงความไว้ใจ ความศรัทธา และตระหนักว่าเสียงของตนมีอิทธิพล

                       ต่อการก าหนดทิศทางการเมือง) ของประชาชนจะต ่าลง จนอาจท าให้ลดความสนใจและความต้องการ
                       มีส่วนร่วมทางการเมือง ซึ่งย่อมส่งผลโดยตรงต่อการจรรโลงประชาธิปไตยหลังการเลือกตั้ง


                              1.3 แนวทางท าให้พรรคการเมืองเป็นสถาบัน จุดอ่อนส าคัญที่สุดของพรรคการเมืองไทย

                       โดยรวม คือ ความไม่สามารถเป็นตัวแทนประชาชนตามความแตกต่างของผลประโยชน์ อัตลักษณ์

                       ความเชื่อ หรืออุดมการณ์ (Social  cleavages)  ที่ชัดเจนและจับต้องได้ ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา
                       ชัดเจนว่าพรรคการเมืองไทยไม่ได้แสดงบทบาทมากพอที่จะช่วยจรรโลงประชาธิปไตย พรรคการเมือง

                       กลายเป็นส่วนหนึ่งของขั้วความขัดแย้งแตกแยกในสังคม ที่น ามาสู่เงื่อนไขของการรัฐประหารทั้งสอง

                       ครั้งหลัง คุณสมบัติของพรรคการเมืองที่จะแสดงบทบาทน าในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยและ

                       สนับสนุนการจรรโลงประชาธิปไตย คือ พรรคการเมืองจะต้องไม่น าความขัดแย้งระหว่างพรรค

                       การเมืองลงไปครอบง าความคิดประชาชน ให้เกิดความเกลียดชังระหว่างผู้สนับสนุน  และพรรค
                       การเมืองต้องไม่น าความขัดแย้งทางการเมืองลงไปสู่ท้องถนน ต้องไม่น าประชาชนไปใช้เป็นเครื่องมือ

                       ในการเคลื่อนไหวเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองอันคับแคบเฉพาะตน
   250   251   252   253   254   255   256   257   258   259   260