Page 257 - kpiebook62016
P. 257

240







                              ส าหรับประเทศไทย ถึงแม้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 จะเพิ่มอ านาจตรวจสอบฝ่ายบริหารให้ฝ่าย
                       ค้านเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ง่ายขึ้น แต่ได้ตัดความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนกับวุฒิสภาลง

                       โดยครึ่งหนึ่งของวุฒิสมาชิกมาจากการสรรหา และในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

                       ก าหนดให้วุฒิสมาชิกมาจากการแต่งตั้งเป็นเวลา 5 ปี นอกจากนี้ ที่มาและขั้นตอนการใช้อ านาจ

                       ตรวจสอบขององค์กรอิสระไทย ยังเป็นประเด็นถกเถียงที่ยังหาฉันทามติไม่ได้ เป็นที่วิตกว่า การให้
                       บทบาทองค์กรอิสระ และศาล ในฐานะเป็นองค์กรคัดง้างเสียงข้างมาก โดยองค์กรอิสระและศาลมี

                       ที่มาจากระบบราชการ ขาดความเชื่อมโยงกับประชาชน จะมีความชอบธรรมเพียงพอหรือไม่ในการ

                       ตรวจสอบรัฐบาล และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากเสียงข้างมากของประชาชน


                              ความส าเร็จหรือความล้มเหลวของการปฏิรูปการเมืองขึ้นอยู่กับการเปิดให้ประชาชนมีส่วน

                       ร่วม และสร้างระบบความรับผิดที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งไม่ปรากฏทั้งในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540
                       รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550  และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560  นอกจากนั้น ระบบการเมืองที่โปร่งใส

                       (Transparency) จะเป็นหลักประกันให้การตรวจสอบถ่วงดุลด าเนินไปได้อย่างเข้มแข็ง ในระบบ

                       การเมืองที่โปร่งใส ตัวแสดงทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ทหาร บุคลากรในองค์กรอิสระ

                       ข้าราชการ สื่อ นักธุรกิจ กลุ่มผลประโยชน์ ต้องรับผิดและตอบค าถามในการกระท าของตนต่อ

                       (Accountable to) เจ้าของอ านาจอธิปไตย คือ ประชาชน ระบอบประชาธิปไตยจะเป็นเครื่องมือก ากับ
                       ให้รัฐบาลต้องตอบสนองต่อและเป็นที่พึ่งพา (Responsive and reliable) ของประชาชน และยังส่งผล

                       ให้นโยบายถูกเปลี่ยนเป็นการให้บริการประชาชนที่เสมอภาค (Uniform) ไม่ให้ผู้ใดหรือคนกลุ่มใด

                       ละเมิดผู้อื่น หรือมีอภิสิทธิ์ในการได้รับบริการหรือการดูแลจากรัฐเหนือบุคคลอื่นได้ ยิ่งไปกว่านี้ประเทศ
                       ไทยยังล้มเหลวในการสถาปนาระบบกฎหมาย และระบบยุติธรรมที่โปร่งใส เป็นธรรม เป็นกลาง ไม่

                       เลือกข้าง (Fair  and  impartial  legal  system)  แต่กลับเป็นระบบกฎหมายที่ปล่อยให้เป็นไปตาม

                       อ าเภอใจของผู้มีอ านาจในขณะนั้น เมื่อปราศจากความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย และมาตรฐานเดียว

                       ในการบังคับใช้กฎหมายที่เชื่อถือได้ ประชาชนจึงไม่รู้สึกเป็นเจ้าของระบบกฎหมายและรัฐธรรมนูญ


                              จากประสบการณ์การร่างรัฐธรรมนูญไทยที่ผ่านมา สะท้อนว่าแนวคิดที่มองรัฐธรรมนูญเป็น

                       กฎหมายสูงสุด ทั้งในมิติหลักการแบ่งแยกอ านาจ และการจ ากัดอ านาจของผู้ปกครองตามฐานคิดแบบ
                       รัฐบาลควรมีอ านาจจ ากัด (Limited  government)  ล้วนไม่เคยได้รับการเคารพและปรากฏเป็นจริง

                       ในทางปฏิบัติ ในทางตรงข้าม ผู้ร่างรัฐธรรมนูญมักมีความกลัวเป็นเจ้าเรือน และความกลัวที่ครอบง า
   252   253   254   255   256   257   258   259   260   261   262