Page 258 - kpiebook62016
P. 258
241
อย่างใหญ่หลวงที่สุดคือ ความกลัวประชาชน ผลก็คือ รัฐธรรมนูญปฏิกิริยาที่ต่อต้านอ านาจประชาชน
นอกจากนี้ การร่างรัฐธรรมนูญของไทย ยังไม่เชื่อมโยงกับพื้นฐานทางภูมิปัญญาและประสบการณ์ทาง
ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่ส าคัญขาดเป้าหมายในเชิงอุดมคติ ไม่สามารถเป็นเครื่องมือที่ท าให้เยาวชน
และคนในวัยใดๆ ใฝ่ฝันหรือจินตนาการถึงอนาคตได้ว่า สังคมในวันข้างหน้าจะดีขึ้นกว่าวันนี้อย่างไร ด้วย
เครื่องมืออะไร ลูกหลานและสังคมเป็นอย่างไร แทนการฝันถึงวันวานแบบเก่าที่ผ่านพ้นไปแล้ว
2. บทบาทของทหารในการเมือง
ในประเทศที่เคยมีอดีตอยู่ภายใต้การปกครองของทหาร และกองทัพยังคงความแข็งแกร่งอยู่
เช่นประเทศไทย การเรียกร้องให้ปฏิรูปกองทัพดูเป็นเรื่องยากเกินกว่าที่จะเกิดได้จริง แต่ยิ่งทหารและ
กองทัพมีความส าคัญต่อระบบการเมืองมากเท่าใด สังคมยิ่งต้องให้ความส าคัญกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ
อันที่จริงไม่ใช่เฉพาะทหาร หรือกองทัพที่ต้องอยู่ภายใต้ระบบตรวจสอบที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ
แต่เป็นเรื่องการออกแบบระบบที่ท าให้มีเครื่องมือตรวจสอบทั้งนักการเมือง ทหาร คนดี และคนเลว
ในสังคมไทยทหารปฏิบัติการในฐานะอ านาจยับยั้ง (Veto power) ที่อยู่นอกระบบตรวจสอบ
ถ่วงดุลและกลไกของระบบรัฐสภาแบบตัวแทน แต่ประสบการณ์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ชี้
ตรงกันว่า การรัฐประหารหรือใช้ความรุนแรงโดยคณะทหารมักไม่ประสบความส าเร็จในการน าพา
ประเทศใดๆ ไปสู่ประชาธิปไตย ประวัติศาสตร์บันทึกถึงความล้มเหลวจ านวนมากของการรัฐประหาร
และการกบฎที่ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก นอกจากการเปลี่ยนการถือครองอ านาจจาก
ชนชั้นน ากลุ่มหนึ่งไปยังชนชั้นน าอีกกลุ่มหนึ่ง ภายในระบอบอ านาจนิยมแบบเดิม หรือเผด็จการ
รูปแบบใหม่
เมื่อเปรียบเทียบการรัฐประหารกับการประท้วงต่อต้านโดยประชาชน (Broad-based popular
movement) แล้วจะพบว่า การชุมนุมโดยประชาชนมีแนวโน้มน าไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่วางรากฐาน
ไปสู่ประชาธิปไตยได้ดีกว่า เช่น ปรากฏการณ์ที่เกิดในเกาหลีใต้ อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา ตูนิเซีย
ยูเครน และโปแลนด์ ในประเทศเหล่านี้ มีจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยร่วมกันที่มา
จากการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลในระบอบอ านาจนิยมหลังเกิดวิฤติเศรษฐกิจ ที่รัฐบาลไม่สามารถ
แก้ปัญหาตามความคาดหวังของประชาชนได้ เหตุผลที่การชุมนุมประท้วงของประชาชนมีโอกาส
น าไปสู่ประชาธิปไตยได้มากกว่าการรัฐประหาร เพราะว่าการเคลื่อนไหวของประชาชนเป็นการรวม