Page 32 - kpiebook62016
P. 32

15







                              แต่จนกระทั่งทุกวันนี้  ความส าเร็จในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงไม่
                       ชัดเจนดังค าท านาย และเต็มไปด้วยความคลุมเครือ ความไม่แน่นอน ความไม่มั่นคง เสมือนหมอก

                       จางๆ ที่ท าให้การประเมินความส าเร็จของการเปลี่ยนผ่านไม่อาจหาข้อยุติได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งการ

                       เปลี่ยนผ่านของคลื่นประชาธิปไตยระลอกนี้ ยังไม่จบสิ้นเสร็จสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ วรรณกรรมทาง

                       รัฐศาสตร์จ านวนมากจึงเลือกอธิบายปรากฏการณ์ “การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย” (Democratic
                       transition) พอๆ กับ หรือมากกว่าที่จะเน้นความเป็นประชาธิปไตยของประเทศประชาธิปไตยใหม่ที่เพิ่ง

                       เริ่ม “ตั้งไข่” เหล่านี้


                              เพื่อปูพื้นส าหรับการศึกษานี้ ผู้เขียนได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องโดยแบ่งเป็น 5 ประเด็นที่

                       ต่างก็มีความเชื่อมโยงกัน คือ 1) ความหมายและคุณสมบัติของประชาธิปไตย 2) เส้นทางสู่ประชาธิปไตย

                       3)  การจรรโลงประชาธิปไตยให้มั่นคง 4)  หลุมพรางของระบอบลูกผสม  (Hybrid  Regime)  และ 5)
                       บทบาทของสถาบันการเมืองในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย


                              ในหัวข้อสุดท้ายของบทนี้ จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎี กับวิธีการศึกษา และการ

                       หาข้อสรุปในการศึกษา เพื่อชี้ให้เห็นว่าการทบทวนวรรณกรรมและการมีทฤษฎีเป็นแผนที่น าทาง ส่งผล

                       ต่อการวางกรอบการศึกษาที่รัดกุม ชัดเจน เปรียบเสมือนประทีปน าทาง ส่องสว่างไปยังการหาข้อสรุป

                       ของการศึกษาที่กระจ่างชัด ทั้งสามส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างมีนัยส าคัญ

                       ความหมายและคุณสมบัติของประชาธิปไตย


                              ประชาธิปไตยไม่ได้มีความหมายเดียว ทฤษฎีที่อธิบายและค าจ ากัดความมีหลากหลาย เปิด

                       ประเด็นให้ถกเถียงมาอย่างยาวนาน ต่อเนื่อง และยังไม่สิ้นสุดจนทุกวันนี้ ดังนั้น การจะหาฉันทามติใน

                       ค านิยามประชาธิปไตยว่าคืออะไร ควรเป็นอย่างไร หรือจะวัดด้วยอะไร จึงไม่อาจหาข้อยุติที่นักรัฐศาสตร์
                       ทุกคนจะยอมรับได้โดยง่าย


                              ค าว่า “ประชาธิปไตย” หรือ “Democracy” มีรากจากภาษากรีกว่า  δημοκρατία

                       (dēmokratiā)  ซึ่งมาจากค าว่า dēmos  (ประชาชน) และ kratos (การปกครอง  อ านาจ หรือความ

                              34
                       เข้มแข็ง)  จึงแปลความหมายโดยรวมว่า การปกครองโดยประชาชน ความหมายของประชาธิปไตยที่


                       34
                         อมร รักษาสัตย์  และคณะ,  ประชาธิปไตย: อุดมการณ์ หลักการ และแบบอย่างการปกครองหลายประเทศ (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
                       จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539), หน้า 9-10.
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37