Page 34 - kpiebook62016
P. 34
17
37
ประชาชนที่มาจากการเลือกตั้งตามวิถีทางประชาธิปไตย Diamond และ Morlino ระบุว่าคุณสมบัติ
ส าคัญของประชาธิปไตยประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 มิติ ได้แก่ 1) นิติรัฐ 2) การมีส่วนร่วม 3) การ
แข่งขัน 4) การแสดงความรับผิดชอบแนวตั้ง (หมายถึงการที่สถาบันและตัวแสดงทางการเมืองต้อง
แสดงความรับผิดต่อประชาชนที่เป็นเจ้าของอ านาจอธิปไตย เช่น ตอบสนองความต้องการของ
38
ประชาชนและเปิดให้สาธารณชนตรวจสอบได้ --โดยผู้เขียน ) 5) การแสดงความรับผิดชอบแนวนอน
6) เสรีภาพของประชาชน 7) ความเท่าเทียมกัน 8) การเป็นตัวแทนประชาชน องค์ประกอบของ
ประชาธิปไตย 5 ประการแรกของ Diamond และ Morlino ถือว่าเป็นมิติประชาธิปไตยด้าน
39
กระบวนการ (Procedural dimensions) The Freedom House วัดความเป็นประชาธิปไตยใน 2 มิติ
ได้แก่ มิติสิทธิทางการเมือง (Political rights) โดยพิจารณาจากระบบเลือกตั้ง พหุนิยมทางการเมือง
และการมีส่วนร่วมทางการเมือง การด าเนินงานของรัฐบาล และมิติเสรีภาพของพลเมือง (Civil
liberties) โดยพิจารณาจากเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพที่จะเชื่อ สิทธิในการรวมกลุ่ม หลัก
40
นิติธรรมในการบริหาร ความเป็นเอกเทศของบุคคล และสิทธิส่วนบุคคล และ The Economist
Intelligence Unit เสนอการวัดระดับความเป็นประชาธิปไตย (Index of Democracy) ใน 5 ด้าน คือ
1) กระบวนการเลือกตั้งและพหุสังคม 2) เสรีภาพของพลเมือง 3) การท าหน้าที่ของรัฐบาล 4) การมี
41
ส่วนร่วมของประชาชน และ 5) วัฒนธรรมทางการเมือง
เกณฑ์และมาตรวัดต่างๆ ที่น าเสนอไปข้างต้น สะท้อนมาตรฐาน 2 ระดับต่อแนวคิด
ประชาธิปไตย คือมาตรฐานประชาธิปไตยขั้นต ่า (Minimalist democracy) ที่ให้ความส าคัญกับ
กระบวนการทางการเมือง โดยเฉพาะการเลือกตั้ง ด้วยมองว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยควร
37 Wolfgang Merkel, “Embedded and Defective Democracies,” Democratization vol. 11, no.5 (December 2004): 33-58,
DOI: 10.1080=13510340412331304598.
38 นอกเหนือจากการแสดงความรับผิดชอบในแนวนอนและแนวตั้งตามแนวคิดเดิมนี้แล้ว มีการเสนอการตรวจสอบโดยประชาสังคม
(Civil society-driven accountability) เพิ่มขึ้นอีกด้วย ดูใน Rick Stapenhurst, “Accountability in Governance,” World Bank
[online], December 20, 2016, Available from
https://siteresources.worldbank.org/PUBLICSECTORANDGOVERNANCE/Resources/AccountabilityGovernance.pdf.
39 Larry Diamond and Leonardo Morlino, “The Quality of Democracy: An Overview,” Journal of Democracy vol. 15, no.4
(2004): 20-31.
40 พิษณุ เสงี่ยมพงษ์, ลักษณะประชาธิปไตย (กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556), หน้า 2 และ 8-9.
41
The Economist intelligence unit, “Democracy Index 2014” [online], November 13, 2015, Available from
http://www.sudestada.com.uy/Content/Articles/421a313a-d58f-462e-9b24-2504a37f6b56/Democracy-index-2014.pdf.