Page 31 - kpiebook62016
P. 31

14






                                                              บทที่ 2

                                      ประชาธิปไตยและการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย:
                                                ทฤษฎี แนวคิด และประสบการณ์


                       การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในกระแสคลื่นลูกที่สาม


                              ความพยายามเปลี่ยนระบอบการเมืองไปสู่ประชาธิปไตยในหลายประเทศทั่วโลก ที่เกิดขึ้นราว

                       ค.ศ. 1989  ภายหลังการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออก

                       เรื่อยมาจนถึงปรากฏการณ์อาหรับสปริง ในช่วง ค.ศ. 2011 ได้รับการเรียกขานจนเป็นที่รู้จักกันดีใน

                       นาม “คลื่นลูกที่สามของประชาธิปไตย” (Third  Wave  of  Democratization) คลื่นแห่งการ

                       เปลี่ยนแปลงนั้นชัดเจน  เพราะประเทศทั้งหลายต่างเรียกตัวเองอย่างเป็นทางการว่าปกครองด้วย

                       ระบอบประชาธิปไตย จน Francis  Fukuyama  เสนอมุมมอง “The  end  of  history” อันโด่งดังว่า ใน

                       โลกแห่งความคิด ทุกวันนี้ไม่มีทางเลือกอื่นๆ ที่จะเป็นคู่แข่ง หรือท้าทายแนวคิดเสรีนิยมประชาธิปไตย

                                   33
                       ได้อย่างจริงจัง  Fukuyama ไม่ได้เป็นคนแรกที่คาดเดาว่าประชาธิปไตยจะเป็นระบอบและอุดมการณ์
                       ที่ครอบง าโลก ในช่วงทศวรรษที่ 1840 Alexis de Tocqueville ท านายว่าประชาธิปไตยเป็นอุมการณ์

                       หลักที่จะแพร่กระจายไปทั่วโลก หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (WWI ค.ศ. 1914–1918) ที่เคยเชื่อกันว่า

                       เป็น  “สงครามเพื่อยุติสงคราม” (the  war  to  end  all  wars)  และอีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

                       (WWII ค.ศ. 1939-1945) หลังความพ่ายแพ้ของระบอบอ านาจนิยมฟาสซิสม์ (Fascism) ก็ยังคาดเดา

                       กันอีกว่าจะเป็นยุครุ่งเรืองของระบอบประชาธิปไตย และในที่สุดระบอบประชาธิปไตยจะกลายเป็น

                       ระบอบการเมืองของทั่วโลก (Universal democracy)





                       33  Fukuyama  อ้างอิงอภิปรัชญา (metaphysics) ของ Hegel  และวัตถุนิยมวิภาษวิธี (dialectical  materialism)  ของ  Marx ในการ

                       สังเคราะห์ขั้นตอนพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ จากยุคมืด สู่ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา และยุคเรืองปัญญา ที่เน้นรัฐฆารวาส ความเท่าเทียม
                       และสังคมที่ใช้เหตุผลมากกว่าความเชื่องมงาย อุดมการณ์โลกแห่งยุคเรืองปัญญาจะน าทางไปสู่ระบอบทุนนิยมเสรีประชาธิปไตยของทั่ว
                       ทั้งโลก และนี่คือประวัติศาสตร์ยุคสุดท้ายของมนุษย์ ดังที่ Marx เคยพยากรณ์ถึงการปฎิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ และรัฐค่อยๆ สลายตัวไป
                       นักวิชาการและคนส่วนใหญ่มองว่า นอกจากค าท านายของ  Fukuyama  จะไม่เป็นจริง เพราะหลายประเทศในโลกยังคงหันหลังให้
                       ประชาธิปไตยแล้ว แนวคิดดังกล่าวยังสนับสนุนประชาธิปไตยทุนนิยม และโลกาภิวัตน์ที่น าไปสู่การพัฒนาแบบเหลื่อมล ้า โปรดดู
                       Francis Fukuyama, “The End of History?,” The National Interest (Summer 1989), pp. 3-18 [online], December 20, 2016,
                       Available from https://ps321.community.uaf.edu/files/2012/10/Fukuyama-End-of-history-article.pdf.
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36