Page 35 - kpiebook62016
P. 35

18







                       พิจารณาฐานรากของประชาธิปไตย คือ “การเลือกตั้ง” หากไม่มีการเลือกตั้ง ต่อให้มีสิทธิมนุษยชน
                       การมีส่วนร่วมของประชาชนด้านอื่น และสวัสดิการสังคมต่างๆ ก็ไม่ท าให้ประเทศนั้นเป็น

                       ประชาธิปไตย กับอีกฝ่ายหนึ่ง คือ ประชาธิปไตยขั้นสูง (Maximalist democracy) ที่ให้ความส าคัญกับ

                       หลายมิติในสังคมนอกเหนือจากระบบการเมือง โดยมองรวมทั้งระบบเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม และ

                       อาจรวมถึงสิ่งแวดล้อม โดยเห็นว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยต้องสร้าง “พลเมือง” ที่ไม่ใช่มี
                       เพียงสิทธิเลือกตั้ง แต่ต้องมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับความคุ้มครองตามหลักการสิทธิมนุษยชน และ

                       มีสวัสดิการ ซึ่งรวมถึงการจัดการความยากจนและความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมและเศรษฐกิจ


                              ในสังคมไทย ข้อถกเถียงระหว่างนิยามแบบบาง หรือประชาธิปไตยขั้นต ่า และนิยามแบบ

                       เข้มข้นหรือประชาธิปไตยแบบหลายมิติ ปะทุขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงหลายปีที่

                       ผ่านมา และดูเหมือนจะเข้มข้นกว่าเดิมหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 และการรัฐประหาร พ.ศ. 2557
                       ที่ฝ่ายหนึ่งให้ความส าคัญกับกระบวนการทางการเมืองเป็นหลัก อีกฝ่ายหนึ่งมองว่ากระบวนการ

                       ทางการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งไม่ส าคัญเท่ากับผลลัพธ์ที่ต้องการเห็นคนดีปกครองประเทศ เพื่อให้

                       เกิดความเข้าใจตรงกันถึงความหมายของประชาธิปไตยที่ใช้ในการศึกษานี้ ผู้เขียนได้สรุปแนวคิด

                       ของนักรัฐศาสตร์ที่เสนอไว้ข้างต้น น ามาสร้างเป็นกรอบการวัดประชาธิปไตยใน 3 มิติ ดังนี้


                              มิติที่ 1 ด้านสถาบันการเมือง (Institutional Dimension) หมายถึงความสามารถของกลไก
                       กติกา และสถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง (เช่น ฝ่ายบริหาร รัฐสภา) สามารถท าหน้าที่ได้อย่าง

                       เป็นอิสระ ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรที่ไม่ต้องแสดงความรับผิดต่อประชาชน  (Tutelary

                       interference)


                              มิติที่ 2  ด้านการเป็นตัวแทน (Representational  Dimension) หมายถึงความสามารถใน

                       การท าหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประชาชน โดยเฉพาะบทบาทของพรรคการเมือง ที่จะ
                       กลั่นกรองวาระทางการเมือง สังเคราะห์ รวบรวม และน าเสนอนโยบายอันสะท้อนผลประโยชน์โดยรวม


                              มิติที่ 3  ด้านทัศนคติและวัฒนธรรมการเมือง (Cultural  and  Attitudinal  Dimension)

                       กล่าวคือ ตัวแสดงหลักทางการเมือง เช่น กองทัพ ระบบราชการ กลุ่มทุน สื่อมวลชน และประชาชน

                       ส่วนใหญ่ในประเทศยอมรับในความจ าเป็น ความส าคัญ และความชอบธรรมของระบอบ
                       ประชาธิปไตยเหนืออื่นใด กว่าระบอบอื่น หรือวิถีทางอื่น ไม่ว่าสังคมจะเผชิญวิกฤติหรือปัญหาใด
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40