Page 36 - kpiebook62016
P. 36

19







                       เส้นทางสู่ประชาธิปไตย (Paths toward Democracy)

                              การศึกษาเรื่องการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยทั้งของไทยและต่างประเทศ ได้รับอิทธิพล

                       จากงานของ Samuel P. Huntington ที่ชื่อ “คลื่นลูกที่สามของการท าให้เป็นประชาธิปไตย” (The third

                                              42
                       wave of democratization)  Huntington ศึกษา “คลื่น” ของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย และ
                       “คลื่นย้อนกลับ” (Reverse  wave) ที่ท าให้หลายประเทศที่เพิ่งเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยไม่สามารถ
                       ตั้งมั่นอยู่ได้ แต่ถดถอยกลับไปสู่การปกครองแบบเผด็จการ กระแสการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย

                       สามารถแบ่งได้เป็น 3 คลื่น ดังนี้


                              คลื่นลูกที่หนึ่ง เป็นการเปลี่ยนไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่เกิดจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ

                       และสังคมในยุคที่สิทธิในการเลือกตั้งเริ่มขยายตัวอย่างกว้างขวาง เช่น ในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และ
                       ยุโรปตะวันตก ส่วนคลื่นสะท้อนกลับที่น ามาสู่ความล้มเหลวของประชาธิปไตยในบางประเทศในกลุ่ม

                       คลื่นลูกแรกคือสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ท าให้หลายประเทศในยุโรปกลายเป็นเผด็จการ เช่น เยอรมนี

                                                                           43
                       อิตาลี และออสเตรีย รวมไปถึงประเทศในเอเชีย เช่น เกาหลีใต้

                              คลื่นลูกที่สอง เป็นกระแสประชาธิปไตยที่มาจากอิทธิพลของการยกเลิกอาณานิคม

                       (Decolonization) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น ประเทศภายใต้อาณานิคมของฝรั่งเศส ประเทศใน
                       ลาตินอเมริกาและแอฟริกา รวมไปถึงประเทศผู้แพ้สงครามอย่างเยอรมนีและญี่ปุ่น ก็ได้พัฒนาสู่การ

                                                                44
                       เป็นประชาธิปไตยในช่วงคลื่นลูกที่สองเช่นกัน  ขณะที่คลื่นสะท้อนกลับลูกที่สองท าให้หลาย
                       ประเทศในอเมริกาใต้ที่มีความใกล้ชิดกับระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่หวนคืนสู่เผด็จการ เช่น

                                              45
                       อาร์เจนตินา และชิลี เป็นต้น  อาร์เจนตินา และชิลี เป็นตัวอย่างประเทศที่ล้มเหลวจากการเปลี่ยนผ่าน
                       ไปสู่ประชาธิปไตยในคลื่นลูกที่สอง และฟื้นตัวกลับมาอีกครั้งในคลื่นลูกที่สาม

                              คลื่นลูกที่สาม เป็นพลังการเปลี่ยนแปลงที่เกิดหลายระลอกข้ามเขตแดนเชิงพื้นที่ เริ่มต้นขึ้น

                       ในประเทศโปรตุเกส ค.ศ. 1974 และแพร่ขยายสู่หลายพื้นที่ในโลก เช่น กรีซ สเปน ประเทศในอเมริกาใต้




                       42  Samuel P. Huntington, The Third Wave: Democratization in the Late Twentieth Century (Norman and London: University
                       of Oklahoma Press, 1991).
                       43  Ibid., p. 40.
                       44
                         Ibid., pp. 40-43.
                       45  Naomi Klein, The Shock Doctrine: The Rise of Disaster Capitalism (New York: Metropolitan Books, 2007), pp. 7-8.
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41