Page 41 - kpiebook62016
P. 41
24
ว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในตูนีเซียได้เริ่มขึ้นและยังยืนหยัดอยู่ได้ ทั้งนี้ บทบาทของชนชั้นน า
และกระบวนการประนีประนอมที่เกิดจากพลังประชาสังคม เป็นตัวแปรส าคัญของการศึกษาการเปลี่ยน
ผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในการศึกษานี้
การจรรโลงประชาธิปไตยให้มั่นคง (Democratic Consolidation)
กล่าวกันว่าความโชคร้ายประการหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย คือ ประชาธิปไตยเองนั่นแหละ
ที่มีศักยภาพจะท าให้ประชาธิปไตยถึงจุดจบ หมายความว่า ในขณะที่พยายามรักษาวิถีชีวิต
57
ประชาธิปไตย ประชาธิปไตยเองสุ่มเสี่ยงต่อการท าลายตัวเอง ที่เรียกว่า “democide” และท่ามกลาง
คลื่นลูกที่สามที่นานาประเทศเปลี่ยนระบอบการเมืองสู่ประชาธิปไตย หลายประเทศเช่นกันที่ถูกกระแส
คลื่นประชาธิปไตยซัดให้ย้อนกลับสู่ระบอบเผด็จการดั้งเดิมของตน ในช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1970 นี้เอง
ที่การศึกษาเรื่องกระบวนการจรรโลงประชาธิปไตย ได้เข้ามาอยู่ในความสนใจและได้รับความนิยมมาก
ขึ้นเรื่อยมา เพื่อตอบค าถามว่าการเปลี่ยนผ่านจากระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยไปสู่ประชาธิปไตยนั้น
แต่ละสังคมต้องเผชิญหน้าและจัดการกับอุปสรรคและสิ่งแวดล้อมทางการเมืองเช่นใดบ้าง ไม่ว่าจะ
เป็นการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจโลก การเติบโตของภาคประชาสังคม และบทบาทของรัฐต่อ
58
การสร้างประชาธิปไตย
Andreas Schedler ให้นิยามการจรรโลงประชาธิปไตยว่า คือ ความท้าทายในการท าให้
ระบอบประชาธิปไตยใหม่มีความปลอดภัย โดยการพยายายามยืดอายุประชาธิปไตยให้ยาวนานขึ้น
สร้างภูมิคุ้มกันจากการถดถอย และจากภัยคุกคามของเผด็จการอ านาจนิยม และสร้างกลไกป้องกัน
การย้อนกลับที่จะท าลายตัวระบบเอง สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ซับซ้อนยิ่ง กินขอบเขตทั้งในประเด็น
ความชอบธรรม คุณค่าของความเป็นประชาธิปไตย อิทธิพลของตัวแสดงที่เป็นปรปักษ์ต่อระบบ การ
ท าให้อ านาจของฝ่ายพลเรือนอยู่เหนือกองทัพ การก าจัดวงล้อมของระบอบเผด็จการ การสร้างพรรค
การเมือง องค์กรผลประโยชน์ที่เข้มแข็ง การสถาปนาเสถียรภาพของกฎเกณฑ์ในการเลือกตั้ง การ
57
Mark Chou, Theorizing Democide: Why and How Democracies Fail (UK: Palgrave Macmillan, 2013), p. 16.
58 Jean Grugel, op. cit., p. 1.