Page 107 - kpiebook65010
P. 107

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               ความเท่าเทียมในส่วนที่สามารถคาดหมายได้ (foreseen impact on gender relations) หรือ
               กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ หลังจากที่สามารถระบุถึงผลกระทบแล้วก็จะต้องมีการวัดระดับของผลกระทบ

               โดยพิจารณาจากแนวโน้มของผลกระทบที่ได้วิเคราะห์ไปในขั้นตอนก่อน โดยการวัดและชั่งน้ำหนัก
               ผลกระทบในขั้นตอนนี้อาจวัดโดยพิจารณาว่าข้อเสนอทางนโยบายหรือกฎหมายนั้นจะส่งผลบวก

               ลบ หรือไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อความเท่าเทียมทางเพศ โดยปัจจัยสำคัญที่จะทำให้
               การวิเคราะห์ขั้นตอนนี้เกิดประสิทธิภาพก็จะขึ้นอยู่กับคุณภาพและปริมาณของข้อมูลที่มีการเก็บ
               และวิเคราะห์ในขั้นตอนก่อน ๆ ด้วย ในที่นี้การชั่งน้ำหนักผลกระทบด้านความเท่าเทียม

               อาจพิจารณาจากเกณฑ์ที่ปรากฏในด้านต่อไปนี้

                            1. ข้อพิจารณาด้านการมีส่วนร่วมของหญิงและชาย (participation of

               women and men) การชั่งน้ำหนักข้อพิจารณาด้านนี้จะถือว่าก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
               ในทางที่ดีขึ้น (ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ) เมื่อจำนวนตัวแทนของฝ่ายที่มีสัดส่วนน้อย
               (representation of the under-represented sex) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (significant

               increase) ซึ่งอาจเป็นกรณีที่ฝ่ายชายมีบทบาทในการทำหน้าที่ที่โดยปกติฝ่ายหญิงเป็นผู้ทำ เช่น
               การดูแลงานบ้าน และในทางกลับกัน ฝ่ายหญิงมีบทบาทในงานที่ปกติฝ่ายชายเป็นผู้มีบทบาทหลัก

               เป็นต้น

                            2. ข้อพิจารณาด้านการเข้าถึงและการควบคุมสิทธิประโยชน์ (access to
               and control of resources) การชั่งน้ำหนักข้อพิจารณาด้านนี้มุ่งพิจารณาที่บรรดาทรัพยากรหรือ

               สิทธิประโยชน์ที่จำเป็น (essential resources) เช่น การศึกษา การจ้างงาน อาชีพ สุขภาพ เวลา
               เงิน อำนาจ ข้อมูล หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นต้น โดยจะถือว่ากฎหมายหรือนโยบายก่อให้เกิด

               ความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นเมื่อสามารถคาดหมายได้ว่าจะมีการขจัดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ
               ทางเพศ (gender gap) หรืออย่างน้อยที่สุดคาดเห็นได้ถึงการลดลงของช่องว่างความเหลื่อมล้ำ
               ดังกล่าวได้ ซึ่งในกรณีของเพศหญิง อาจเป็นเรื่องการส่งเสริมบทบาทสตรีในด้านเศรษฐกิจ ในขณะที่

               การเพิ่มบทบาทของเพศชายอาจเป็นการส่งเสริมให้ได้ทำงานบ้านมากขึ้น นอกจากนี้ อาจเป็นการ
               เพิ่มบทบาทของเพศที่ได้รับบทบาทน้อยในกระบวนการตัดสินใจในระดับโครงการ เป็นต้น ก็ได้


                            3. ข้อพิจารณาด้านบรรทัดฐานทางสังคมหรือคุณค่าที่อิงอาศัยปัจจัยด้าน
               การแบ่งแยกเพศ (gender-based social norms and values) การชั่งน้ำหนักข้อพิจารณาด้าน

               นี้จะถือว่าก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกลไกหรือโครงสร้าง
               ที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เช่น การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนภาระงานที่มีในสังคมหนึ่ง ๆ ที่แบ่งแยก
               ด้วยเหตุผลเรื่องเพศ


                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     95
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112