Page 102 - kpiebook65010
P. 102
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
โดยมักตั้งโจทย์สำหรับการวิเคราะห์หรือประเมินว่า “ข้อเสนอกฎหมาย นโยบายหรือแผนงาน
มีส่วนเพิ่ม คงสภาวะหรือลดความเสมอภาคทางเพศระหว่างหญิงและชายหรือไม่?” 137
นอกจากนี้ คณะกรรมธิการยุโรปได้ให้ความหมายของคำว่า Gender Impact
Assessment ในเอกสาร ให้คำแนะนำ 2 ฉบับ ต่างวาระโอกาสกัน โดยนิยามแรก หมายถึง
กระบวนการในการเปรียบเทียบและประเมินสภาวะปัจจุบันและแนวโน้มของการพัฒนาอันเป็น
ผลมาจากการใช้ข้อเสนอทางนโยบายโดยพิจารณาจากเกณฑ์ด้านทางเพศ และนิยามที่สอง
138
หมายถึง การคาดการณ์ผลกระทบด้านต่าง ๆ ทั้งด้านบวก ด้านลบและด้านที่แสดงการไม่
เปลี่ยนแปลง (neutral) อันเป็นผลจากนโยบายหรือการดำเนินการตามนโยบายในด้านความเท่าเทียม
ทางเพศ (gender equality) 139
การทำ GIA ตามแนวทางของ EU มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงกฎหมายและ
นโยบายในเรื่องต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อความเท่าเทียมทางเพศรวมทั้ง
140
เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศ โดยพยายามขจัดหรือลดการเลือกปฏิบัติทางเพศ
นอกจากนี้ หากพิจารณาในแง่ความเหมาะสมของกฎหมายและนโยบายที่จะมีการใช้บังคับแล้ว
แม้ว่าโดยหลักการแล้วบรรดากฎหมายและนโยบายที่รัฐกำหนดขึ้นน่าจะมีความเป็นกลางทางเพศ
(gender-neutral) และกฎหมายถือว่าชายหญิงมีความเท่าเทียมกันก็ตาม แต่เนื่องจากใน
ความเป็นจริงแล้วความไม่เท่าเทียมทางเพศยังคงปรากฏอยู่ในสังคม ด้วยเหตุนี้ ในขั้นตอนของ
การออกแบบกฎหมายและนโยบายจึงควรมีการคำนึงถึงว่ากฎหมายและนโยบายนั้นจะส่ง
ผลกระทบต่อกลุ่มผู้ส่วนได้เสียหรือไม่อย่างไร โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยความแตกต่างด้านเพศ
โดยการทำ GIA ทั้งนี้ ก็เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดรวมทั้งช่วยให้ข้อมูลกับ
ผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับกฎหมายและนโยบายได้ทราบถึงข้อมูลผลกระทบดังกล่าว 141
3.7.1.2 แนวทางและขั้นตอนการทำ GIA
ตามแนวทางดำเนินการของ EU นั้น ได้แบ่งขั้นตอนการทำ GIA ออกเป็น
5 ขั้นตอน ได้แก่
137 ibid 8.
138 European Commission, A Guide to Gender Impact Assessment (European Communities
1998) 8.
139 European Institute for Gender Equality (n 83) 8.
140 ibid.
141 ibid 9.
สถาบันพระปกเกล้า
90