Page 111 - kpiebook65010
P. 111
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
147
การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในฐานะส่วนหนึ่งของการทำ RIA ด้วย จึงควรนำมากล่าว
ในฐานะที่เป็นตัวอย่างการทำ RIA ที่มีความเกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบทางสังคมเช่นกัน
3.7.2.1 ความหมายและลักษณะของผลกระทบ
ในบริบทของการประเมินผลกระทบจากการออกกฎหมายหรือนโยบายนั้น
ยังไม่มีการให้นิยามการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเอาไว้อย่างชัดเจน โดยถือแต่เพียงว่า
148
ประเด็นทางสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นประเด็นสำคัญที่ควรมีการวิเคราะห์ผลกระทบด้วย โดยประเด็น
เรื่องสิ่งแวดล้อมที่จะมีการประเมินนั้นจะมีลักษณะเฉพาะเนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมและมาตรการ
จัดการทั้งในแง่ลักษณะและระดับความรุนแรงของปัญหา (ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อค้นพบทางวิทยาศาสตร์)
ความไม่แน่นอนนี้จึงส่งผลให้เกิดความไม่ชัดเจนว่าจะออกแบบนโยบายและกฎหมายเพื่อจัดการ
ประเด็นทางสิ่งแวดล้อมแต่ละเรื่องอย่างไร แนวทางดำเนินการหนึ่งที่จะช่วยให้นโยบาย
149
หรือกฎหมายสะท้อนเอาประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปเป็นส่วนสำคัญของการดำเนินการก็คือ
การกำหนดให้จะต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในขั้นตอนการตัดสินใจออกแบบ
กฎหมายและนโยบาย
150
แม้ว่าจะไม่มีการกำหนดความหมายของผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่จะต้อง
ทำการวิเคราะห์ในการทำ RIA แต่หากพิจารณาลักษณะของผลกระทบที่จะต้องมีการระบุใน
ขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบใน European Commission Impact Assessment Guidelines
2009 จะเห็นว่าผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมีหลายรูปแบบดังตัวอย่างประเภทของผลกระทบและ
คำถามที่อาจกำหนดขึ้นในการวิเคราะห์ในตารางต่อไปนี้ 151
147 Klaus Jacob and others, “Improving the Practice of Impact Assessment” (EVIA Policy Paper
2008) 7.
148 ซึ่งกรณีนี้แตกต่างจากการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในระดับกิจกรรม โครงการและระดับ
ยุทธศาสตร์ ที่มักมีกฎหมายรองรับและให้นิยามอย่างชัดเจน เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ในระดับโครงการ
หรือกิจกรรม) ตามมาตรา 46 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ให้นิยามว่า
หมายถึง “กระบวนการศึกษาและประเมินผลที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการใดของ
รัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตให้มีการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย
คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียอื่นใดของประชาชนหรือชุมชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม
ของประชาชน เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบดังกล่าว ผลการศึกษาเรียกว่า รายงานการประเมินผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม”
149 Jacob and others (n 94) 7.
150 ibid.
151 European Commission, ‘Impact Assessment Guidelines (2009)’ (n 9) 37-38.
สถาบันพระปกเกล้า
99