Page 108 - kpiebook65010
P. 108
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
ขั้นตอนที่ 5 การหาข้อค้นพบและข้อเสนอ
การดำเนินการในขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการวิเคราะห์
โดยจะต้องมีการทำให้เกิดข้อสรุปเกี่ยวกับผลกระทบต่อชายและหญิงที่เป็นกลุ่มเป้าหมายโดยอาจมี
การจัดทำข้อเสนอ (proposals) เพื่อแนะแนวทางการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศเพื่อจัดการ
กับประเด็นความเท่าเทียมทางเพศที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยจำเป็นต้องมีการระบุว่าจะส่งเสริมให้
เกิดความเท่าเทียมทางเพศให้เกิดขึ้นในแต่ละด้านของข้อเสนอทางกฎหมายหรือนโยบายอย่างไร
โดยมีประเด็นที่เป็นข้อแนะนำ ดังนี้
1. ควรมีการกล่าวถึงประเด็นความเท่าเทียมทางเพศในส่วนอารัมภบท
(preamble) ของกฎหมายหรือในนิยามของนโยบายหรือแผนงาน หรือในบางส่วนของกรอบ
ดำเนินการทางกฎหมาย
2. ควรมีการกล่าวถึงประเด็นความเท่าเทียมทางเพศในส่วนของกรอบ
วัตถุประสงค์ของกฎหมายหรือนโยบายเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นและเพื่อส่งเสริมให้เกิดกลไกสร้างการมี
ส่วนร่วมในกฎหมายหรือนโยบาย
3. ควรมีการกล่าวถึงกลไกดำเนินการที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเพศ
ในส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนของกฎหมายหรือนโยบาย ซึ่งอาจเป็นการส่งเสริมให้สตรี
มีบทบาทในเรื่องที่ยังมีบทบาทน้อย เช่น ในกระบวนการตัดสินใจ ส่งเสริมให้มีการศึกษาและการใช้
ข้อมูลทางสถิติที่มีการจำแนกเพศหรือที่มีประเด็นทางเพศ หรือมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดการใช้
ความรุนแรงทางเพศ เป็นต้น
4. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าภาษาที่ใช้ในกฎหมายหรือนโยบายไม่ก่อให้เกิดอคติ
ทางเพศ (gender-neutral language)
นอกจากนี้ ควรมีการกำหนดตัวชี้วัด (indicator) ที่เป็นประโยชน์ต่อการ
ติดตามตรวจสอบและประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง (จากการใช้กฎหมายและนโยบาย) โดยอาจ
คำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
๏ ตรวจสอบว่าในปัจจุบันมีตัวชี้วัดใดที่สามารถนำมาใช้ติดตามตรวจสอบ
ความก้าวหน้าในการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศได้อย่างเหมาะสม
หรืออาจจำเป็นต้องมีการกำหนดตัวชี้วัดใหม่โดยอิงกับชุดข้อมูลที่มีการจัด
จำแนกเพศ
สถาบันพระปกเกล้า
96