Page 109 - kpiebook65010
P. 109
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
๏ หากข้อมูลเรื่องใดยังไม่สมบูรณ์และอาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือ
ของการทำ GIA ก็ควรมีการกล่าวเอาไว้อย่างชัดแจ้งในรายงาน GIA
ในส่วนของรายงาน GIA ซึ่งเป็นการนำเสนอและสรุปการจัดทำ GIA นั้น
ควรประกอบด้วยสารบัญหรือหัวข้อการนำเสนอที่ชัดเจน โดยอาจประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ ๆ เช่น
1. การอธิบายวัตถุประสงค์ของนโยบาย (definition of policy purpose)
2. ความเกี่ยวข้องของข้อเสนอกับประเด็นความเท่าเทียมทางเพศ (gender
relevance of proposal)
3. รายละเอียดของการวิเคราะห์ข้อเสนอในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ (in-
depth gender analysis of proposal)
4. ข้อสรุปในด้านความเท่าเทียมทางเพศ (conclusion from a gender
perspective)
ข้อเสนอเพื่อปรับปรุงกิจกรรมหรือโครงการในด้านความเท่าเทียมทางเพศ
(proposals to improve the project in terms of gender equality)
3.7.1.3 วิธีการดำเนินการ
โดยหลักแล้วการทำ GIA ก็ถือเป็นการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมประเภท
หนึ่งซึ่งสามารถใช้เครื่องมือวิเคราะห์ที่ได้กล่าวไปแล้วในหัวข้อ 3.5 ได้ โดยในแง่ผู้รับผิดชอบ
การดำเนินการนั้นอาจทำได้หลายวิธีการโดยอาจขึ้นอยู่กับโครงสร้างองค์กรและผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
เช่น วิธีการดังต่อไปนี้ 145
1) การกำหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐที่รับผิดชอบร่างกฎหมายและนโยบายเป็น
ผู้รับผิดชอบ (civil servant approach) วิธีการดำเนินการวิธีนี้เน้นไปที่การกำหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐ
ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้ก็เนื่องจากการทำ GIA เป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำข้อเสนอทาง
กฎหมายหรือนโยบายของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ดังนั้น การจัดทำ GIA โดยให้เจ้าหน้าของรัฐ
ซึ่งจัดทำข้อเสนอกฎหมายหรือนโยบายเป็นที่ผู้รับผิดชอบก็ย่อมมีความเหมาะสม เนื่องจากทำให้มี
การผนวกเอาประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเพศเข้าเป็นส่วนหนึ่งการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
หรือหน่วยงานเพราะทำให้กฎหมายหรือนโยบายเรื่องที่ดำเนินการมีมาตรการรองรับหรือกล่าวถึง
145 ibid 10.
สถาบันพระปกเกล้า
97