Page 105 - kpiebook65010
P. 105
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
หาผลกระทบที่จับต้องได้ (tangible result) เพื่อกำหนดมาตรการแทรกแซงให้เกิดความเท่าเทียม
ทางเพศ
ในการวิเคราะห์ความเท่าเทียมทางเพศควรดำเนินการโดยทำความเข้าใจ
สถานะปัจจุบันของกลุ่มที่เกี่ยวข้องและกลุ่มที่อาจได้รับผลกระทบจากนโยบาย กฎหมายหรือ
แผนงาน เพื่อให้ได้ข้อมูลว่ากลุ่มดังกล่าวสามารถดำเนินกิจกรรมหรือมีความเป็นไปอย่างไรหากไม่มี
การเข้าใช้มาตรการแทรกแซง และในอีกด้านหนึ่งก็จะต้องวิเคราะห์เท่าที่จะเป็นไปได้ด้วยว่า
กฎหมาย นโยบายและแผนงานที่จะมีขึ้นจะสร้างความเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้อย่างไร และ
เพื่อให้การวิเคราะห์ดังกล่าวมีความชัดเจนควรจะต้องมีการวิเคราะห์ในแง่มุมต่าง ๆ เช่น 144
1. วิเคราะห์สภาพการณ์ปัจจุบันของชายและหญิง โดยอาจทำการเก็บข้อมูล
เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันในด้านที่กฎหมายและนโยบายกำลังจะเข้าไปดำเนินการ โดยเฉพาะ
การเก็บข้อมูลหรือสถิติที่มีการแยกชายหญิง ในขณะเดียวกันก็อาจจะเติมข้อมูลการวิเคราะห์เชิง
ปริมาณให้สมบูรณ์และมีความลึกมากขึ้นด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการศึกษาวิจัย
หรือรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง
2. ระบุความไม่เท่าเทียมทางเพศที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยรวบรวมและพิจารณา
ข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น จากกลุ่มบุคคลที่เป็นกลุ่มเป้าหมายนั้นเอง โดยอาจเก็บข้อมูลด้วย
การกำหนดคำถามต่าง ๆ เช่น
๏ ผู้ที่เกี่ยวข้องคาดหวังหรือมีความต้องการให้ (ความไม่เท่าเทียมทางเพศ
ที่เกิดขึ้น) เป็นไปอย่างไร
๏ ความต้องการหรือความหวังนั้นมีความแตกต่างกันระหว่างหญิงและชาย
หรือไม่
๏ ข้อเสนอกฎหมายและนโยบายนั้นได้พิจารณาความต้องการของทั้ง
ชายและหญิงด้วยหรือไม่
๏ จะทำอย่างไรจึงจะช่วยให้ความต้องการของบุคคลต่าง ๆ ได้รับการตระหนัก
ในกฎหมายและนโยบายมากขึ้น
นอกจากนี้ การวิเคราะห์สถานะปัจจุบันเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมทางเพศนั้น
อาจพิจารณาในแง่ความเท่าเทียมในการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ เช่น งาน เงิน อำนาจ สุขภาพ
144
ibid 14-15.
สถาบันพระปกเกล้า
93