Page 110 - kpiebook65010
P. 110
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
เรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำข้อเสนอกฎหมายหรือนโยบายอาจขาดความชำนาญ
ในการทำ GIA จึงอาจทำให้การทำ GIA ไม่ได้ลงลึกเท่ากับการกำหนดให้มีหน่วยงานเฉพาะหรือ
ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการ
2. การตั้งหน่วยงานเฉพาะด้านความเท่าเทียมทางเพศเป็นผู้ดำเนินการ
(gender equality unit approach) นอกเหนือจากการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่ไม่ได้มี
ความเชี่ยวชาญในการทำ GIA เป็นผู้จัดทำ แนวทางอื่นอาจได้แก่การกำหนดให้มีการตั้งหน่วยงาน
ด้านความเท่าเทียมทางเพศ (gender equality unit) ขึ้นมาทำหน้าที่นี้โดยอาศัยเครื่องมือและ
วิธีการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคต่าง ๆ (ดูหัวข้อ 3.5) โดยหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาเฉพาะอาจทำหน้าที่
เฝ้าติดตามตรวจสอบว่ามีการใช้กฎหมายหรือนโยบายที่สอดคล้องกับการให้ความสำคัญกับ
ความเท่าเทียมทางเพศก็ได้ ซึ่งข้อดีคือทำให้ได้รายงาน RIA ที่ละเอียดเนื่องจากทำโดยผู้เชี่ยวชาญ
แต่ก็อาจทำให้หน่วยงานรัฐที่เป็นผู้รับผิดชอบข้อเสนอกฎหมายหรือนโยบายซึ่งจะต้องผนวกเอา
ประเด็นความเท่าเทียมทางเพศเข้าไปด้วยไม่ได้รู้สึกว่าตนมีความรับผิดชอบหรือมีความเข้าใจเรื่องนี้
อย่างจริงจัง
3) การกำหนดให้การทำ GIA เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลกระทบด้าน
อื่น ๆ (broader impact assessment approach) แนวทางดำเนินการวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องมี
การตั้งหน่วยงานเพื่อทำการวิเคราะห์ความเท่าเทียมทางเพศขึ้นมารับผิดชอบโดยตรงโดยอาจ
ทำการวิเคราะห์ผลกระทบต่อความเท่าเทียมทางเพศรวมกับการวิเคราะห์ผลกระทบด้านอื่น ๆ เช่น
ด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจทำให้เกิดข้อจำกัดเนื่องจากอาจทำไม่ไม่มีการทำ
GIA เลย หรือมีการทำแต่ไม่มีความชัดเจน อย่างไรก็ดี มีข้อดีที่ทำให้เกิดความชัดเจนว่าประเด็น
ความเท่าเทียมทางเพศเชื่อมโยงกับผลกระทบด้านอื่นอย่างไร (หากมีการวิเคราะห์ความเท่าเทียม
ทางเพศด้วย)
3.7.2 ด้านสิ่งแวดล้อม (environmental impact assessment)
ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นประเด็นด้านสำคัญที่อาจมีการประเมินผลกระทบจาก
การตรากฎหมายและนโยบายเช่นเดียวกับประเด็นทางสังคมและเศรษฐกิจ และแม้ว่ารายงาน
การศึกษานี้จะมุ่งนำเสนอการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมเป็นหลักก็ตาม แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมนั้นมีความเกี่ยวข้องพัวพันกับความเป็นอยู่ของคนในสังคม หรือกล่าวอีก
146
นัยหนึ่งคือเกี่ยวพันกับผลกระทบทางสังคมอย่างแน่นแฟ้นนั่นเอง ดังนั้น จึงมีการกำหนดให้มี
146
John Turnpenny and others, ‘Chapter 13 Environment’ in Dunlop (n 2) 191.
สถาบันพระปกเกล้า
98