Page 103 - kpiebook65010
P. 103

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย









                   ขั้นตอนที่ 1    ขั้นตอนที่ 2     ขั้นตอนที่ 3    ขั้นตอนที่ 4     ขั้นตอนที่ 5
                 กำหนดวัตถุประสงค์    การตรวจสอบ    การวิเคราะห์    การชั่งน้ำหนัก    การหาข้อค้นพบ
                   ของนโยบาย      ความเกี่ยวข้อง     ระดับผลกระทบ     ผลกระทบ       และข้อเสนอ
                  (definition of     (checking gender   (gender-sensitive   (weighing gender   (findings and
                 policy purpose)   relevance)       analysis)        impact)        proposals)




                           ภาพ 6 ขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบด้านความเท่าเทียมทางเพศ

                            ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดวัตถุประสงค์ของนโยบาย


                            ในขั้นตอนนี้จะมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของข้อเสนอทางนโยบาย กฎหมาย
               หรือแผนงานโดยพยายามชี้ให้เห็นว่าวัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้นมีความเกี่ยวข้องกับประเด็น

               ความเท่าเทียมทางเพศอย่างไร โดยอาจมีการกำหนดคำถามต่อไปนี้เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ของ
               นโยบาย 142

                                ๏ มาตรการแทรกแซงตามข้อเสนอทางนโยบาย กฎหมายหรือแผนงานนี้
                                  มีประเด็นด้านสังคมใดบ้าง


                                ๏ เหตุใดจึงต้องมีการกำหนดมาตรการแทรกแซงนี้

                                ๏ มาตรการแทรกแซงนี้มุ่งที่จะทำให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศอย่างไร

                                ๏ สถานะปัจจุบันของความเท่าเทียมทางเพศในด้านที่จะเข้ากำหนด
                                  มาตรการแทรกแซงมีอยู่อย่างไร


                            ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบความเกี่ยวข้อง

                            การตรวจสอบความเกี่ยวข้องในขั้นตอนนี้จะเป็นการวิเคราะห์ว่าข้อเสนอทาง

               กฎหมาย นโยบายหรือแผนงานนั้นจะส่งผลกระทบต่อความเท่าเทียมทางเพศหรือไม่ โดยหาก
               ปรากฏว่าข้อเสนอดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มเป้าหมาย ก็จะต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบ
               ด้านความเท่าเทียมทางเพศ โดยหากปรากฏว่าข้อเสนอนั้นจะส่งผลกระทบต่อการเข้าถึง หรือ

               การควบคุมทรัพยากร (ใช้ในบริบทที่หมายถึง สิทธิประโยชน์) ก็ย่อมถือว่าข้อเสนอนั้นกระทบต่อ
               สถานการณ์หรือสถานะทางสังคม (social situation or position) โดยผลกระทบเช่นว่านั้น

               อาจกระทบในลักษณะที่ดีขึ้นหรือทำให้แย่ลง

                    142   ibid 14.

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     91
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108