Page 114 - kpiebook65010
P. 114
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
3.7.2.3 ตัวอย่างเทคนิคการวิเคราะห์
เทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตามการจำแนกของ Klaus
ในรายงานของ OECD อาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ ได้แก่ เครื่องมือในการสร้างและวิเคราะห์ผลกระทบ
ด้านสิ่งแวดล้อมเฉพาะด้าน เครื่องมือผนวกและรวบรวมข้อมูล และเครื่องมือในการสร้างการมี
ส่วนร่วม
153
สำหรับเครื่องมือวิเคราะห์ลักษณะแรกอาจทำได้โดยอาศัยหลายเทคนิค
การดำเนินการ เช่น การวิเคราะห์แบบพิจารณาปัจจัยด้านสังคมเศรษฐกิจ (socio-economic
models) การวิเคราะห์แบบพิจารณาปัจจัยด้านกายภาพชีวภาพ (bio-physical models) และ
การวิเคราะห์แบบบูรณาการ (integrated models) สำหรับเครื่องมือการวิเคราะห์ลักษณะที่สอง
อาจได้แก่การใช้เทคนิควิเคราะห์แบบ multi-criteria analysis การวิเคราะห์แบบ cost-benefit
154
analysis ซึ่งอาจเป็นการวิเคราะห์ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ส่วนลักษณะที่สามเครื่องมือ
การวิเคราะห์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจดำเนินการได้หลายแบบโดยขึ้น
อยู่กับหลายปัจจัย เช่น ขอบเขตของลักษณะการประเมินและทางเลือกทางนโยบายที่จะมี
การประเมิน โดยปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะใช้ตัดสินว่าจะใช้เทคนิคใดก็คือความสมบูรณ์
155
และปริมาณของข้อมูลที่มีเพื่อจะทำการวิเคราะห์
3.7.3 ด้านสุขภาพ (Health impact assessment)
เนื่องจากประเด็นด้านสุขภาพมักจัดเป็นส่วนสำคัญของการประเมินผลกระทบทางสังคม
156
ด้วย เพราะสุขภาพมักเกี่ยวพันกับความเป็นอยู่ของมนุษย์ ในขณะเดียวกันก็มีประเด็นเกี่ยวพัน
กับด้านสิ่งแวดล้อมด้วย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในทางกายภาพ โดยการประเมิน
157
ผลกระทบทางสุขภาพต้องอาศัยองค์ความรู้ทั้งด้านการสาธารณสุข ด้านสังคมศาสตร์และ
153 ibid 12.
154 รายละเอียดการวิเคราะห์แบบ cost benefit analysis สำหรับการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
ดูเพิ่มเติมได้จาก OECD, Cost-Benefit Analysis and the Environment: Further Developments and Policy
Use (OECD Publishing 2018).
155 Jacob and others ‘Integrating the Environment in Regulatory Impact Assessments’ (n 99)
12.
156 Rainer Fehr and others, Health in Impact Assessments: Opportunities Not to be Missed
(WHO Regional Office for Europe 2014) 73.
157 ibid 91.
สถาบันพระปกเกล้า
102