Page 116 - kpiebook65010
P. 116

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               สภาวะความอยู่ดีมีสุขในทางร่างกาย จิตใจและสังคม โดยไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน  หรือ
                                                                                         163
               กล่าวอีกนัยหนึ่งคือมุ่งพิจารณาไปที่ความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์เป็นหลักนั่นเอง โดยประเด็นทาง

               สุขภาพอาจเป็นเรื่องการเจ็บป่วย เช่น โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ การเจ็บป่วยทั้งทางกายและ
               ทางจิตใจรวมทั้งประเด็นเกี่ยวกับความอยู่ดีมีสุข (well-being) ด้วย 164


                            ในส่วนของแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบทางสุขภาพนั้น ใน EU Better
               Regulation Toolbox ได้จำแนกผลกระทบที่จะทำการวิเคราะห์ออกเป็นผลกระทบโดยตรงและ
               ผลกระทบทางอ้อม โดยอาจกำหนดคำถามสำหรับเป็นโจทย์การวิเคราะห์ผลกระทบทั้งสองลักษณะ

               ดังตารางที่ปรากฏต่อไปนี้ 165


                             ผลกระทบทางตรง                           ผลกระทบทางอ้อม
               ๏ ทางเลือกที่พิจารณาก่อให้เกิดหรือลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ ๏ ทางเลือกที่พิจารณาก่อให้เกิดผลกระทบต่อปัจจัยด้านสังคม
                 หรือกระทบต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยหรือไม่    เศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อสถานะทางสุขภาพหรือไม่
               ๏ ทางเลือกที่พิจารณาส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลและ    (ปัจจัยด้านสังคมเศรษฐกิจก็เช่น เงื่อนไขการทำงาน รายได้
                 ความยั่งยืนของบริการด้านสุขภาพและการให้บริการ    การศึกษา โภชนาการ)
                 ด้านการดูแลระยะยาวหรือไม่             ๏ ทางเลือกที่พิจารณาก่อให้เกิดผลกระทบทางตรงหรือ
               ๏ ทางเลือกที่พิจารณาส่งผลต่อการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และข้อมูล  ทางอ้อมต่อปัจจัยทางสุขภาพที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต เช่น
                 ทางการแพทย์ หรือต่อบริการด้านสุขภาพและการให้บริการ  การควบคุมอาหารเพื่อลดน้ำหนัก กิจกรรมทางกายภาพ
                 ด้านการดูแลระยะยาวขอวงกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม เช่น     การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือไม่
                 กลุ่มเปราะบาง หรือไม่

                            กรณีใดที่จะต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสุขภาพนั้นอาจพิจารณาได้จาก
               การที่มีกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม เช่น เด็ก สตรีตั้งครรภ์ คนชรา คนพิการ หรือกลุ่มผู้มีรายได้น้อย

               มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนและไม่พอสมควรแก่เหตุอันเป็นผลเนื่องมาจากการ
               การเพิ่มหรือลดของความเหลื่อมล้ำของสถานะทางสุขภาพ และหากปรากฏว่าจะมีผลกระทบ

               ด้านใดอย่างมีนัยสำคัญก็จะต้องมีการนำเสนอให้ชัดเจน
                                                            166






                    163   รายละเอียดดูนิยามของคำว่าสุขภาพในอารัมภบทของธรรมนูญก่อตั้งองค์การอนามัยโลก (Constitution of
               the World Health Organization, adopted by the International Health Conference, 22 June 1946; signed
               22 July 1946, entered into force on 7 April 1948)
                    164   Rainer Fehr and others (n 103) 93.
                    165   รายละเอียดแนวทางและคำอธิบายประกอบการวิเคราะห์โจทย์คำถาม ดู European Commission,
               ‘Better Regulation Toolbox’ (n 35) 239-240.
                    166   ibid


                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     104
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121