Page 117 - kpiebook65010
P. 117

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





                      3.7.3.3   เทคนิคการวิเคราะห์

                            ส่วนเทคนิคการวิเคราะห์นั้น โดยทั่วไปแล้วไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวว่าจะต้องใช้

               วิธีการวิเคราะห์ใดเป็นวิธีการวิเคราะห์หลักเนื่องจากขึ้นอยู่กับลักษณะ (nature) ของข้อมูลที่จะ
                             167
               ทำการวิเคราะห์  โดยอาจใช้เทคนิควิธีการทั้งแบบวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เช่น
               หากข้อมูลที่จะทำการวิเคราะห์เป็นเรื่องตัวเลขหรือวิธีการระบาดของโรค เกณฑ์ด้านความเสี่ยง
               อันตราย เป็นต้น ก็อาจต้องทำการวิเคราะห์ในเชิงปริมาณ และหากเป็นเรื่องการให้ความรู้หรือ
               ความเข้าใจความรู้หรือกระบวนการอันจะเป็นประโยชน์ต่อการมีส่วนร่วมสาธารณะก็อาจจะต้อง

               ทำการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เป็นต้น โดยการเก็บข้อมูลอาจทำได้โดยการทำแบบสอบถาม
               การสัมภาษณ์ การกำหนดกลุ่มเพื่อทำกิจกรรม การสัมมนา เป็นต้น  ทั้งนี้ ผู้ที่จะทำ
                                                                               168
               การวิเคราะห์ควรเป็นผู้ที่มีความเข้าใจและองค์ความรู้ด้านสาธารณสุข (public health) ด้าน
               นโยบายและด้านระบบสุขภาพ (health systems) รวมทั้งควรมีความสามารถในการระบุ
               กลุ่มประชากรและกรอบเวลาที่เกี่ยวข้องได้ เพราะเป็นปัจจัยที่จะเป็นประโยชน์ในการคาดการณ์

               ต้นทุนและผลประโยชน์ 169

                            ในขั้นตอนการเริ่มวิเคราะห์ผลกระทบหลังจากที่ระบุผลกระทบนั้น อาจต้อง

               พิจารณาลำดับแรกก่อนว่าผลกระทบด้านสุขภาพที่ระบุนั้นมีความซ้ำซ้อนกับผลกระทบด้านอื่น ๆ
               ที่มีการวิเคราะห์ไปแล้วหรือไม่ เพราะบางครั้งอาจมีการระบุผลกระทบที่ซ้ำซ้อนหรือคาบเกี่ยวกับ
               เช่น ประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบสาธารณสุขอาจถูกกำหนดให้เป็นผลกระทบใน

               การเข้าถึงบริการสาธารณะก็ได้

                            หากพิจารณาวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบที่ได้จำแนกไว้ใน EU Better

               Regulatory Toolbox จะพบว่ามีการจำแนกวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบออกเป็นการวิเคราะห์ที่มี
               การคำนวณเป็นมูลค่าเงิน (monetary approaches) และการวิเคราะห์ที่ไม่มีการคำนวณเป็น

               มูลค่าเงิน (non-monetary approaches) 170

                            สำหรับกรณีแรก การวิเคราะห์ที่มีการคำนวณเป็นมูลค่าเงินนั้นมุ่งที่จะนำ
               เสนอการเปรียบเทียบโดยละเอียดและครอบคลุมในด้านต้นทุนและผลประโยชน์โดยการแสดง


                    167   ibid 240-241.
                    168   John Kemm, Health Impact Assessment: Past Achievement, Current Understanding, and
               Future Progress (Oxford University Press 2012) 25-50.
                    169   European Commission, ‘Better Regulation Toolbox’ (n 35) 240-241.

                    170   ibid 241.
                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     105
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122